วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
30.12.2558 ประชาสังคม (Civil Society)
1.ประชาสังคม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประชาสังคม หรือ Civil Society เป็นแนวคิดที่มีเป้าหมายเพื่อการมีสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยเป็นแนวคิดที่กว้าง จึงมีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย โดยทั่วไปประชาสังคม หมายถึง พื้นที่หรือส่วนของสังคมที่มีประชาชนเป็นผู้แสดงบทบาทหลัก พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับ และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นดำเนินงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรในพื้นที่ประชาสังคม ประชาชนทั่วไปเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการที่เป็นอิสระจากภาครัฐ และอยู่นอกบริบทการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งกลุ่มและผู้กระทำการทางสังคม อาจมีวัฒนธรรม วิถีชีวิต วิธีคิดอันหลากหลายมาร่วมกันในกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิด สร้างเอกลักษณ์และความเห็นร่วมกัน รวมถึงต้องมีจุดมุ่งหมายร่วมในการพิทักษ์หรือเพิ่มพูนผลประโยชน์สาธารณะบางประการให้กับสังคม โดยลักษณะของพื้นที่ดังกล่าวสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจระหว่างสามพื้นที่ดังกล่าวนี้ด้วย.
2.อรรถาธิบาย
คำว่าประชาสังคมมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในฐานะที่เป็นพื้นที่ทางสังคมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับภาครัฐ กล่าวได้ว่าประชาสังคมในช่วงศตวรรษที่ 17-18 หมายถึง พื้นที่อิสระที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวอย่างสมัครใจของคนที่มีความเชื่อร่วมกันในคุณค่าบางประการ มีวิถีชีวิตในการปฏิบัติการร่วมกัน และต้องมีองค์การที่จัดให้มีการแสดงความคิดเห็นสาธารณะ หรือกล่าวได้ว่าประชาสังคมคือพื้นที่ในการประกอบกิจกรรมของปัจเจกชนที่เป็นอิสระจากรัฐ ประชาสังคมในช่วงศตวรรษที่ 17-18 ได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนในระบบทุนนิยม
อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้เกิดการตั้งคำถามกับคำว่าประชาสังคมว่า ควรรวมถึงภาคเอกชนหรือไม่ เพราะภาคเอกชนมีเป้าหมายอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interest) จนทำให้เกิดการทบทวนนิยามคำว่าประชาสังคม ให้แยกออกจากภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นพื้นที่อิสระ ที่ไม่ใช่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่เป็นพื้นที่ใหม่เรียกว่าภาคประชาสังคม ซึ่งเกิดมาจากการรวมตัวอย่างอิสระเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันในการบรรลุผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งอาศัยความคิดของนักปรัชญาชาวสก๊อตในศตวรรษที่ 18 อย่างอดัม เฟอร์กูสัน (Adam Ferguson) ที่ได้กล่าวว่า ประชาสังคมเป็นพื้นที่สาธารณะของปัจเจกบุคคล ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถึงผู้อื่นเสมอ ประชาสังคมจึงมีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลที่ได้มาจากพื้นที่ทางเศรษฐกิจและกลไกตลาด (Hann and Dunn, 1996: 4)
ความหมายของแนวคิดประชาสังคมในปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือนิยามของนักรัฐศาสตร์ร่วมสมัยอย่าง แลร์รี่ ไดมอนด์ (Diamond, 1996: 228) ซึ่งได้อธิบายแนวคิดประชาสังคมว่า คืออาณาบริเวณ (realm) ที่มีการจัดตั้งขึ้นของชีวิตทางสังคมที่มีลักษณะเป็นอาสาสมัคร มีการเติบโตอย่างเป็นอิสระจากรัฐ และอยู่ภายใต้กติการ่วมกันของสังคม คำว่าประชาสังคมจึงแตกต่างจากคำว่า “สังคม” (society) เพราะเป็นพื้นที่ของพลเมืองที่จะร่วมกันกระทำการบางอย่างในพื้นที่สาธารณะ (public sphere) โดยมีประชาสังคมเป็นพื้นที่ตรงกลาง (intermediary entity) ระหว่างพื้นที่ของเอกชนและภาครัฐ ทั้งนี้รวมถึงเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างประชาชนกับภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ประชาสังคมจึงไม่ได้เป็นเพียงความพยายามในการจำกัดอำนาจรัฐ แต่อาจเป็นพื้นที่สำหรับให้ความชอบธรรมแก่รัฐก็ได้ หากภาครัฐนั้นได้กระทำการอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยรวม
ถึงกระนั้นแล้ว คำว่าประชาสังคมยังคงเป็นคำศัพท์ทางการเมืองที่มีความสับสนในการนิยามและนำไปใช้อย่างมาก การนำคำว่าประชาสังคมไปใช้ในสังคมตะวันตกจึงจำเป็นต้องผูกโยงกับคำศัพท์อื่นที่เข้าใจง่ายกว่า เช่น กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) โลกาภิวัตน์ (globalization) การเป็นอาสาสมัคร (volunteering) ความเป็นพลเมือง (citizenship) และผลประโยชน์สาธารณะ (public interest) เป็นต้น
3.ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย
การนิยามประชาสังคมในประเทศไทย งานของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ให้ความหมายของประชาสังคมไว้ว่าคือ เครือข่าย กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบัน และชุมชนที่มีกิจกรรมหรือมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างรัฐและเอกชน โดยมีจุดเน้นอยู่ที่ไม่ชอบและไม่ยอมให้รัฐครอบงำหรือบงการ แม้ว่าจะยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐและความร่วมมือกับรัฐได้ แต่ก็สามารถชี้นำกำกับและคัดค้านรัฐได้พอสมควร และไม่ชอบลัทธิปัจเจกชนนิยมสุดขั้ว ซึ่งส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัว ต่างคนต่างอยู่ แก่งแย่งแข่งขันกันจนไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หากแต่สนับสนุนให้ปัจเจกชนรวมกลุ่มรวมหมู่ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยไม่ปฏิเสธการแสวงหาหรือปกป้องผลประโยชน์เฉพาะส่วนเฉพาะกลุ่ม[6] และงานของ ชลธิศ ธีระฐิติ เห็นว่าประชาสังคมเป็นมโนทัศน์ทางยุทธศาสตร์ (strategic concept) ที่มีความหมายหลากหลายจนไม่สามารถกล่าวว่านิยามใดถูกต้องทั้งหมด เพราะความหมายของคำว่าประชาสังคมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ในทางยุทธศาสตร์ของผู้ที่นำคำว่าประชาสังคมไปใช้ ว่ามีวัตถุประสงค์ในด้านใดเป็นสำคัญ เช่น หากบุคคลหนึ่งมีประสบการณ์ทางการเมืองในการต่อสู้กับภาครัฐ ประชาสังคมจึงอาจหมายถึงพื้นที่ในการเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน หรือหากอีกบุคคลหนึ่งเคยทำงานเพื่อสังคมโดยอาศัยการสนับสนุนบางอย่างจากกลไกรัฐ ประชาสังคมของบุคคลที่สองจึงอาจเชื่อมโยงหรือมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐมากกว่าบุคคลแรก
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ การนำคำว่าประชาสังคมไปใช้ในสังคมไทยนั้น ยังมีความสับสนอยู่มากในการแยกแยะระหว่างคำว่าประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กล่าวคือ สองคำนี้ถูกใช้เสมือนมีความหมายเดียวกัน และหลายครั้งใช้ทับซ้อนกันไปมาระหว่างประชาสังคมที่เป็น “พื้นที่สาธารณะ” และประชาสังคมที่เป็น “ตัวแสดง” ขององค์กรพัฒนาเอกชน อีกทั้งยังมีความเข้าใจผิดที่ว่าประชาสังคมจะเกิดขึ้นในชนบทเท่านั้น เพราะไม่เชื่อว่าชุมชนเมืองจะสามารถเกิดการรวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมได้ หรือกล่าวได้ว่ามีความพยายามที่จะนำคำว่าประชาสังคมไปใช้ร่วมกับคำว่าชุมชนท้องถิ่นนิยม (communitarianism) ทั้งที่ในนิยามสากล ประชาสังคมเป็นพื้นที่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าในเมืองหรือในชนบท
ดังนั้น สังคมไทยจึงควรกลับมาพิจารณาคำว่า “ประชาสังคม” ในความหมายของ “พื้นที่สาธารณะ” ที่อยู่ตรงกลางระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือจะกล่าวโดยเปรียบเทียบได้ว่าประชาสังคมเป็น “สนาม” ในการเข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างอิสระและมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่ง “ผู้เล่น” ที่จะเข้าไปใช้สนามดังกล่าวนั้นจึงถือว่าเป็น “ตัวแสดง” (actor) ในการเข้าไปมีอิทธิพลหรือเข้าไปมีส่วนร่วมระหว่างพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางการเมือง
แนวคิดเรื่องประชาสังคมสามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ภาคส่วนที่สาม (third sector) องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) กลุ่มทางสังคม (social group) ขบวนการทางสังคม (social movement) และเครือข่ายสังคม (social network) แต่ละส่วนมีบทบาทและทำหน้าที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่การขับเคลื่อนใน “ประชาสังคม” มีลักษณะที่ทับซ้อนระหว่างบทบาทของแต่ละส่วน และอาจมีลักษณะร่วมกันจนไม่สามารถจำแนกออกเป็น 5 ส่วนได้อย่างชัดเจน เช่น NGO/NPO อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทางสังคม ดังนั้น การจำแนกดังกล่าวจึงมีไว้เพื่อช่วยทำความเข้าใจรายละเอียดของประชาสังคม แต่ไม่มุ่งหวังที่จะสร้างกรอบการมองประชาสังคมที่แยกส่วนแบบไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างส่วนต่างๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คำว่า "ประชาสังคม" มาจากภาษาอังกฤษว่า Civil Society และมีผู้ใช้คำภาษาไทยเทียบเคียงกันหลายคำ อาทิ "สังคมประชาธรรม" (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) "สังคมราษฎร์" (เสน่ห์ จามริก) "วีถีประชา"(ชัยอนันต์ สมุทวณิช ใช้คำนี้โดยมีนัยยะของคำว่า Civic movement) "อารยสังคม" (อเนก เหล่าธรรมทัศน์) และ"สังคมเข้มแข็ง"(ธีรยุทธ บุญมี) เป็นต้น ทั้งนี้ นักคิดสำคัญ ๆ ของสังคมไทยได้อธิบายขยายความคำว่า "ประชาสังคม" หรือ Civil Society นี้ในบริบทเงื่อนไขและการให้น้ำหนักที่แตกต่างกัน อันพอรวบรวมในเบื้องต้นได้ดังนี้
ตอบลบศ.นพ.ประเวศ วะสี นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจุดประกายการคิดถกเถียง ในเรื่อง "ประชาสังคม" ให้มีความเข้มข้นอย่างมากในช่วงระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยผ่านงานเขียนชิ้นสำคัญคือ "สังคมสมานุภาพและวิชชา" โดยในงานเขียนดังกล่าวประกอบกับบทความย่อย ๆ และการแสดงปาฐกถาและ การอภิปรายในที่ต่าง ๆ พอประมวลเป็นความคิดรวบยอดได้ว่า ในสภาพของสังคมไทยปัจจุบัน ภาคส่วนหลัก (Sectors) ของสังคมที่มีความเข้มแข็ง และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างมากคือ ภาครัฐ หรือ "รัฐานุภาพ" และภาคธุรกิจเอกชนหรือ "ธนานุภาพ" ซึ่งปรากฏการณ์นี้ส่งผลทำให้สังคม ขาดดุลยภาพและเกิดความล้าหลังในการพัฒนา ของฝ่ายประชาชนหรือ ภาคสังคม ซึ่งเรียกว่า "สังคมานุภาพ"
ลบดังนั้นการนำเสนอแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี จึงมุ่งไปที่การทำอย่างไรที่จะเกื้อหนุนให้ภาคสังคมหรือภาคประชาชนมีความเข้มแข็งและเกิดดุลภาพทางสังคมขึ้น ที่เรียกว่าเป็น "สังคมสมานุภาพ" โดยนัยยะนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เชื่อว่าจะต้องพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งที่ชุมชน(Community Strengthening) (ประเวศ วะสี 2536) จนเกิดคำขยายความตามมา อาทิ ชุมชนเข้มแข็ง ความเป็นชุมชน เป็นต้น ดังการให้ความหมายของการเป็น "ชุมชน" ในที่นี้ ว่าหมายถึง "การที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมี วัตถุประสงค์ร่วมกัน มีอุดมคติร่วมกันหรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสารกัน หรือมีการรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความรัก มีมิตรภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการ ปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างและมีระบบการจัดการในระดับกลุ่ม" (ประเวศ วะสี 2539) ซึ่งโดยนัยยะนี้ประชาสังคมที่เข้มแข็ง ต้องมีรากฐานที่เกิดจากการมีชุมชนที่หลากหลายและเข้มแข็งด้วย
มีข้อพึงสังเกตสำคัญต่อเรื่องการเกื้อหนุนภาคสังคม ที่เสนอแนวคิดในเชิงกลยุทธ์ที่ว่าด้วย "ความร่วมมือเบญจภาคี" (ต่อมาใช้คำว่า "พหุภาคี") โดยมองว่าชุมชนในปัจจุบันอ่อนแอมาก การที่จะทำให้ชุมชน มีความเข้มแข็งได้นั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือและการทำงานร่วมกันของภาคสังคมต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนด้วย "สังคมสมานุภาพ" จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยกระบวนการถักทอความรักของคนในสังคม ของคนในชุมชน ถักทอทั้งแนวดิ่ง อันหมายถึง โครงสร้างอำนาจที่เป็น ทางการและแนวนอนซึ่ง หมายถึงพันธมิตร/เพื่อน/เครือข่ายเข้าหากัน ซึ่งหากพิจารณาจากประเด็นนี้ การให้ความหมายหรือความสำคัญของ "ประชาสังคม" ของ ศ.นพ. ประเวศ วะสี นั้น มิได้กล่าวถึง"การปฏิเสธรัฐ" หรือ State Disobedience แต่อย่างใด
อ.ธีรยุทธ บุญมี และ ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ สองนักคิดทางสังคมคนสำคัญ ที่ได้ให้ความสนใจกับเรื่อง "ประชาสังคม" อย่างมากเช่นเดียวกัน อ.ธีรยุทธ มองว่าการแก้ปัญหา พื้นฐานทางสังคมนั้นควรให้ความสำคัญกับ "พลังที่สาม" หรือพลังของสังคม หากแม้นว่าสังคมโดยรวมมีความเข้มแข็ง นักธุรกิจ นักวิชาชีพ นักศึกษา ปัญญาชนชาวบ้าน สามารถร่วมแรงร่วมใจกัน ผลักดันสังคม ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ สังคมที่เข้มแข็งในความหมายของ ธีรยุทธ บุญมี นั้น จะเน้นที่ลักษณะที่กระจัดกระจาย (Diffuse) พลังทางสังคมที่มาจากทุกส่วนทุกวิชาชีพทุกระดับ รายได้ ทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งโดยนัยยะนี้ จะมีความแตกต่างจากแนวคิด"ประชาชนเป็นส่วนใหญ่" หรือ "อำนาจของประชาชน" ดังเช่นขบวนการ เคลื่อนไหวทางการเมืองในอดีตเป็นอย่างมาก (ธีรยุทธ บุญมี 2536)
ตอบลบอเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ให้ความหมายของ "ประชาสังคม" หรือ "อารยสังคม" ที่ครอบคลุมทุกชนชั้นของสังคม เน้นเรื่องความสมานฉันท์ ความกลมเกลียว ความกลมกลืนในภาคประชาสังคมมากกว่าการดูที่ความแตกต่างหรือ ความแตกแยกภายใน อย่างไรก็ตามมุมมองของ ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับประเด็นของ "คนชั้นกลาง" "การมีส่วนร่วม" "ความผูกพัน" และ "สำนึกของความเป็นพลเมือง" กล่าวคือ "ประชาสังคม" โดยนัยยะนี้ มิได้หมายถึงความเป็นชุมชนของสังคมชนบทเท่านั้นแต่กิน ความรวม ไปถึงคนชั้นกลางภาคเมืองที่ไม่จำเป็นต้องมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นเครือญาติหรือเป็น แบบคุ้นหน้า (face to face relationship) แต่เป็นความผูกพัน (bond) ของผู้คนที่หลากหลายต่อกันบนฐาน แห่งความร่วมมือและการแสวงหาการมีส่วนร่วม และด้วยสำนึกที่มีต่อความเป็นพลเมือง หรือ Citizenship นั่นเองนอกจากนี้ ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญถึงรากฐานของคนไทย และสังคมไทยว่า คนไทยส่วนมากยังมีระบบวิธีคิดว่าตนเองเป็นไพร่ (client) หรือคิดแบบไพร่ ที่จะต้องมีมูลนายที่ดี โหยหาคนดี จึงมักขาดสำนึกของความเป็นพลเมืองและมองปัญหาในเชิง โครงสร้างไม่ออก
อย่างไรก็ตาม ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ให้ความสำคัญต่อการผลักดันให้เรื่อง "ประชาสังคม" กลายเป็นแนวคิดในเชิงอุดมการณ์ ทางสงคม "ผมขอเสนอให้เรื่อง Civil Society เป็นเรื่องของอุดมการณ์ จะต้องมีคำขึ้นมาก่อน ไม่มีคำก็ไม่มีความคิด ไม่มีความคิดก็ไม่มีอุดมการณ์ เพราะฉะนั้นคำว่า Civil Societyต้องสร้างให้เป็น Concept อย่างเช่น วัฒนธรรมชุมชน