วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

14.11.2558 พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์

พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์
พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงอาณาจักรโจฬะในสมัย “พระเจ้าอโศกมหาราช” ที่ทรงส่ง “พระสมณทูต” มาเผยแผ่จนเจริญรุ่งเรืองเช่นกันแต่ถึงกระนั้นในยุคแรก ๆ ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐-๖๐๐ อาณาจักรโจฬะยังไม่ได้สร้าง “พระพุทธรูป” เพราะมีคตินิยมเช่นเดียวกันกับชาวอินเดียในแว่นแคว้นอื่น ๆ คือสร้าง “สัญลักษณ์” แทนซึ่งในช่วงนั้นอาณาจักรโจฬะจะนิยมสร้าง “ดอกบัว” เป็นสัญลักษณ์แทน “พระพุทธเจ้า”
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๖๐๐ เศษ จึงมีการสร้าง “พระพุทธรูป” ขึ้นพร้อมสมัย “คันธาระ” แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายนัก กระทั่งระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๓๐๐ งานพุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จึงได้พัฒนาเป็นพุทธศิลป์ที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เนื่องจากโจฬะเป็นอาณาจักรตอนใต้ของอินเดียที่ผู้คนส่วนใหญ่จะเป็น “ชาวทมิฬ” ศิลปะโจฬะจึงเป็นศิลปะโดยตรงโดยแท้ของ “ชาวทมิฬ” คือมีพระพุทธลักษณะเช่นชาวทมิฬที่มี “พระวรกาย” (ร่างกาย) ล่ำสันบึกบึน “พระอุระ” (อก) กลมแน่นนูนราวกับนักกล้ามที่แสดงถึงความกล้าหาญแข็งแรงตามแบบฉบับของ “ชนชาวทมิฬ” ส่วน “พระพักตร์” (หน้า) กลม “พระปรางค์” (แก้ม) อูมนูนเด่น “พระเนตร” (ตา) กลมโต “พระนาสิก” (จมูก) โด่งเป็นสันตอนปลายใหญ่ราวจมูกของราชสีห์ “พระโอษฐ์” (ปาก) จะหนาซึ่ง “พระพุทธลักษณะโดยรวม” แม้จะเข้มแข็งบึกบึนราวกับ “นักรบชาวทมิฬ” แต่ก็จะแฝงไว้ด้วย “ความสงบเคร่งขรึม” และ “พระเมตตา-พระมหากรุณาธิคุณ” พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” นี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพุทธศิลป์ในประเทศใกล้เคียงอย่าง “ลังกา, พม่า, ไทย” เพราะอาณาจักรโจฬะเจริญรุ่งเรืองมาประมาณปี พ.ศ. ๒๐๐๐ จึงล่มสลายด้วยเหตุถูก “กองทัพมุสลิม” เข้ายึดครอง
1.พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์
2.พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์
3.พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์
4.พุทธศิลป์แบบ คันธราช vs มถุรา
5.ศิลปะแบบสกุลช่างมถุรา (Mathura) ประติมากรรมในสมัยนี้จะนิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยนี้จะมีความเป็นพื้นเมืองเข้ามาผสมจะยังคงแสดงให้เห็นอิทธิของศิลปะแบบคันธาระอยู่บ้าง พระพักตร์ของพระองค์จะมีลักษณะคล้ายชาวอินเดียมากขึ้น พระเคียรมีลักษณะกลม ผ้าจีวรบางยิ่งกว่าแบบคันธาระและแนบสนิทกับลำตัว นอกจากนี้ยังมีภาพสลักบนงาช้างและกระดูกด้วยวิธีแกะสลัก ศิลปะแบบมถุราระยะหลังยังคงรักษาการประดิษฐ์แบบธรรมชาติของศิลปะอินเดียโบราณไว้ และจะเริ่มคลี่คลายเป็นแบบอุดมคติมากขึ้นในช่วงเวลาต่อมา (จาก FB พุทธศิลป์โบราณศึกษา)
6.อันดากูลเป็นพระพุทธรูปสลักจากพุกามประเทศ สร้างราวคริสตวรรษที่ ๑๑-๑๓ทำจากหิน Pyrophylite ซึ่งมีสีขาว ขุ่นคล้ายงาช้าง ซึ่งภาษาพม่าเรียกว่า อันดากู คือ ปางปาฎิหารย์ลักษณะเเสดงพุทธประวัติฉบับย่อที่สำคัญสุดในพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้านั่งปางมารวิชัยเป็นองค์กลางซึ่งสื่อถืงช่วงก่อนตรัสรู้ผจนมารกิเลสในใจฅนที่ยากลำบากหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนจะสำเร็จตรัสรู้ได้ศิลปะเเบบอัลดากูลนี้น่าสนใจน่าศึกษามาก(Suttiruck Wongsawan)
7.พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์
8.พุทธศิลป์แบบ “โจฬะ” จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น