วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

021. ร่วมประชุม โครงการสหกิจศึกษา

ร่วมประชุม โครงการสหกิจศึกษา

วัน เสาร์ ที่ 2 เดือน เมษายน พ.ศ. 2554

ณ. หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่





7950. จากซ้ายไปขวา

1. คุณ ชุติมา ชวสินธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนอร์ท – เชียงใหม่ กรรมการรองเลขานุการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ประธานสาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร (IT)

2. คุณ ณรงค์ คองประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญมอเตอร์ เบนซ์ จำกัด ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 18

3. คุณ ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตนานุวัฒน์ จำกัด ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่

4. คุณ โกสิน ถือแก้ว ผู้บริหารจาก บมจ. กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร กรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 18





7949.





7952.





7953. คนขวามือสุด คือ คุณ วโรดม ปิฏกานนท์ แห่ง หสน.ซิ้นเวียงหลี (สาขา)





7654. คนซ้ายมือสุด คือ คุณ สุภาภรณ์ พรหมจรรย์ ผู้จัดการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่


-----------------------------------------------------------------------------



เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.
เลิกประชุมเวลา 14.00 น.




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง

1 ความคิดเห็น:

  1. สหกิจศึกษาคืออะไร


    สหกิจศึกษา(Co-operative Education) คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ซึ่งเรียกว่า สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต อย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา โดยที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่ให้ความร่วมมือแบบเต็มเวลา จำนวน 16 สัปดาห์ (เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง จำนวน 4 เดือนเต็ม : 1ภาคการศึกษา)

    ทั้งนี้นักศึกษาจะไม่อยู่ใน สถานะของนักศึกษาฝึกงาน แต่ว่านักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาสหกิจศึกษาอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการหรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

    การจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา จึงเป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต(Work Based Learning) อย่างชัดเจนเป็นระบบ หรือการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Work Integrated Learning :WIL)

    นักศึกษาที่เรียนสหกิจศึกษาทุกคนจะต้องแจ้งความประสงค์เรียนและกรอกใบสมัครที่สาขาวิชาหรือภาควิชาของตนเอง

    ขณะเดียวกันนักศึกษาจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ และการคัดเลือกจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่มีความประสงค์รับนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงาน หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยพายัพจะจัดส่งนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานจริงตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตนั้น ๆอย่างชัดเจน โดยนักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง อันจะเป็นการฝึกการประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี และเติมเต็มระหว่างความรู้ที่ได้รับจากการเรียน การสอนในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยและการนำไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษา และเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการในที่สุด


    คัดลอกข้อมูลบางส่วนมาจาก
    สำนักงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยพายัพ

    Source: http://coop.payap.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=44&Itemid=53

    ตอบลบ