วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

022. ร่วมประชุม โครงการ 1 ไร่ 1 แสน

ร่วมประชุม โครงการ 1 ไร่ 1 แสน

วันเสาร์ ที่ 2 เดือน เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการ 1 ไร่ 1 แสน




7955. การประชุมเพื่อเริ่มต้น โครงการ 1 ไร่ 1 แสน






7956.





7958. ตัวอย่างของเกษตรกร หรือ เกษตรกรตัวอย่าง




7961.





7963.





7964.





7965.





7968.

-----------------------------------------------------------------------------




เริ่มประชุม 14.00 น.
เลิกประชุม 16.00 น.




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง

1 ความคิดเห็น:

  1. ปธ.หอการค้าไทย ฝัน'1 ไร่ 1 แสน' เห็นผลจริง ดึงคนจากกรุงกลับถิ่น

    “ดุสิต นนทะนาคร” เล็งขยาย โครงการนำร่องลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ “1 ไร่ 1 แสน” จากขอนแก่น สู่จังหวัดอื่น ก่อนต่อยอดสู่ “1 บริษัท 1 ชุมชน”

    วันที่ 30 พฤศจิกายน นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2553 “การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ” (Reducing Inequality and Creating Economic Opportunity) วันที่สอง ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เกี่ยวกับ โครงการนำร่องลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ใน โครงการ “1 ไร่ 1 แสน” ที่บ้านหนองแต้ ตำบลหนองดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นว่า กระบวนการได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เพราะถือว่า ได้ลงมือทำ จนเห็นผล ขณะนี้รอการขยายผลในจังหวัดต่อๆ ไป

    “การเริ่มต้นโครงการ “1 ไร่ 1 แสน” ที่บ้านหนองแต้ ลุล่วงไปได้ดี เราได้ลงมือทำนา เกี่ยวข้าว เข้าโรงสี ได้ผลผลิตทั้งข้าว ปลาดุก และกบ ทำให้พอมองเห็นตัวเลขต่างๆ ที่จะพอสรุปผลการทำงานได้”

    นายดุสิต กล่าวว่า ถึงแม้โครงการ “1 ไร่ 1 แสน” ที่หอการค้าฯ ยื่นมือเข้าไปช่วยในครั้งนี้ จะไม่ได้ทำให้ชาวนามีรายจ่ายลดลงเท่าใดนัก แต่จะช่วยทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ชาวนาจะต้องรู้จักการบริหารมากขึ้น มากกว่าแค่ปลูกข้าวให้เสร็จ แต่จะต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการทำการเกษตรแบบผสมผสานระหว่างปลูกข้าว มีการปรับปรุงคันนา ให้มีความแตกต่าง สามารถปลูกผักได้ ในท้องนามีการเลี้ยงกบ โดยไม่นำปุ๋ยเคมีมาเกี่ยวข้องอีกทั้ง มีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้มีดินที่ดี และเป็ดก็สามารถกินไส้เดือนเป็นอาหารได้ เกิดการทำนาแบบมีวัฏจักร แทนที่ชาวนาจะต้องลงทุนซื้อปุ๋ยหลายพันบาท ก็มีต้นทุนลดลง ผลผลิตข้าวก็ดีขึ้น รายได้จากการเลี้ยงกบเพิ่มขึ้น ชาวนาบางรายมีรายได้มากที่สุดกว่าแสนบาท ส่วนรายที่น้อยสุดก็อยู่ที่หลักหมื่นบาท เป็นต้น

    นายดุสิต กล่าวด้วยว่า ภายหลังโครงการ “1 ไร่ 1 แสน” ที่ดำเนินการไปได้อย่างดีแล้ว ทางคณะกรรมการหอการค้าจะเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ โดยคณะกรรมการ 1 คน รับผิดชอบดูแล 1 จังหวัด ในโครงการ “1 บริษัท 1 ชุมชน” เพื่อเข้าไปดูว่าแต่ละจังหวัดมีความต้องการอะไรบ้าง เช่น ผ้าไหมไทย การปลูกข้าว ปลูกแตงโม การผลิตเสื้อผ้า คณะกรรมการก็จะเข้าไปช่วยดูว่าจะทำให้เกิดผลผลิต และจะนำเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร นับว่าเป็นขั้นตอนที่จะขยายผลต่อไป เพื่อเป็นอีกยุทธศาสตร์ในการลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และสร้างสังคมให้เป็นสุข

    “คณะกรรมการท่านใดมีความเชี่ยวชาญด้านไหนก็จะสนับสนุนด้านนั้น อย่างผมมีความเชี่ยวชาญเรื่องการทำนา ก็จะให้มหาวิทยาลัยลงไปสำรวจว่า จังหวัดใดในภาคอีสานที่ยากจนที่สุด จากนั้นก็ไปติดต่อกับทางหอการค้าว่า พร้อมที่จะร่วมมือกัน จะเห็นได้ว่า ต้องมี 3 กลไกประสานร่วมกัน เราไม่สามารถไปเลือกทำในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งได้ ไม่อย่างนั้นจะล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น การช่วยเหลือจะต้องมาจากความต้องการของท้องถิ่นก่อน ซึ่งความต้องการต่างๆ เหล่านั้นขึ้นอยู่กับว่าทางคณะกรรมการหอการค้ามีภูมิความรู้ หรือเชี่ยวชาญด้านนั้นด้วยหรือไม่”

    กรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการนำร่องลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ว่า ทางคณะกรรมการไม่สามารถที่จะปูพรมการทำงานไปทั่วประเทศได้ ต้องเริ่มจากตัวอย่าง 3 – 4 จังหวัดก่อน เมื่อสำเร็จจึงจะขยายผลไปเรื่อยๆ ตอนนี้ที่จังหวัดขอนแก่นเสร็จสิ้นไปแล้ว อยู่ในช่วงกำลังเริ่มต้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งหมด 20 จังหวัดที่จะทำโครงการนำร่องต่อไป

    “ผมได้ค้นพบว่าโครงการ “1 ไร่ 1 แสน” อาจจะเป็นเหตุผลให้กรรมกรที่อพยพไปหางานในกรุงเทพฯ กลับสู่ท้องถิ่นมากขึ้น เพราะกรรมกรเหล่านี้ส่วนมากเป็นลูกๆ ของชาวนา ที่มองว่า หากโครงการ “1 ไร่ 1 แสน” สามารถทำได้เห็นผลจริง จะกลับไปทำงานที่บ้าน เพราะมีที่ดินอยู่คนละหลายไร่ พ่อ-แม่ ที่เป็นชาวนาก็น้ำตาไหล โครงการนี้จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ทุกคนมองเห็น และเข้ามาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น

    ที่มา : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย

    Source:http://reform.or.th/news/111

    ตอบลบ