วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

26.10.2558 บันทึกการเดินทางของ ′อ็องรี มูโอต์′ ขยายภาพ′สยาม-กัมพูชา-ลาว′ โดย วจนา วรรลยางกูร

บันทึกการเดินทางของ ′อ็องรี มูโอต์′ ขยายภาพ′สยาม-กัมพูชา-ลาว′ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดย วจนา วรรลยางกูร Source:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445830012
1.ทิวทัศน์เมืองบางกอก ในปี ค.ศ.1858 อ็องรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เดินทางมายังดินแดนแถบอินโดจีนด้วยความสนใจใคร่รู้ ระหว่างทางได้บันทึกเรื่องราวที่พบเจอจนกลายเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ใช้ศึกษาในเวลาต่อมา ชายหนุ่มผู้รักในการเรียนรู้และการเดินทาง แรงจูงใจหนึ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปสำรวจโลกไกลกว่าอินเดีย เกิดจากการอ่านหนังสือ The Kingdom and People of Siam ของเซอร์จอห์น เบาริ่ง จนเกิดโครงการสำรวจทางธรรมชาติวิทยาเพื่อสำรวจพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงคือ สยาม กัมพูชา และลาว จนราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งกรุงลอนดอนรับเป็นผู้อุปถัมภ์โครงการ บันทึกระหว่างการเดินทางและภาพสเกตช์ของเขาที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ด้วยลายเส้นที่งดงาม เป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงในแวดวงประวัติศาสตร์หลายครั้ง ล่าสุดสำนักพิมพ์มติชนจึงตีพิมพ์บันทึกเล่มนี้ในชื่อ "บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในราชอาณาจักรสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ" แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย กรรณิกา จรรย์แสง หนึ่งในสิ่งที่ทำให้บันทึกเล่มนี้น่าสนใจ อาจเป็นเพราะความสามารถรอบด้านของมูโอต์ด้วยความรู้ด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการวาดภาพ ที่ช่วยเติมเต็มบันทึกเล่มนี้ให้รอบด้าน แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดจากการบันทึกในสายตาคนนอก ปฏิเสธไม่ได้ว่ามูโอต์คิดอย่างเจ้าอาณานิคมที่ถือว่าคนผิวขาวเป็นพวกศิวิไลซ์ อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า ซึ่งเป็นทรรศนะที่ยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ก็นับว่าช่วยสะท้อนตัวตนของผู้คนแถบนี้ได้ในมุมหนึ่ง
2.มูโอต์ค้างแรมที่ป่าลาว บางกอกเมื่อแรกเห็น มูโอต์ใช้เวลาเดินทางโดยเรือจากอังกฤษเมื่อเมษายน ปี 1858 ราว 4 เดือน มาถึงสิงคโปร์ เปลี่ยนเรือมาปากน้ำ และเปลี่ยนเรืออีกครั้งเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาสู่บางกอก แรกพบสยามจากปากน้ำจึงได้ซึมซาบความงามตามธรรมชาติตามที่เขียนไว้ว่า "ราชอาณาจักรสยามงดงามสมค่ำร่ำลือ" เมื่อเข้าบางกอกจึงได้พบวัดวังและบ้านเมืองผู้คนที่มีวิถีชีวิตอยู่กับน้ำจนเป็น "นครเวนิสแห่งดินแดนตะวันออก" สายตาคนนอกของมูโอต์นั้นทำให้เกิดการวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมา แต่ก็อยู่บนรสนิยมและทัศนคติแบบชาวตะวันตกในยุคนั้น โดยวิจารณ์ตั้งแต่นิสัยใจคอรูปร่างหน้าตาชาวสยาม ระบอบการปกครอง การฉ้อราษฎร์บังหลวง จนถึงระบอบทาส ความเป็นอยู่ที่ไร้คุณภาพของชาวบ้านในยุคนั้นถูกบันทึกไว้ว่า "...นับว่าชาวสยามเป็นกลุ่มชนที่อึดอัดคับข้องทั้งทางกายและทางใจที่สุดกลุ่มหนึ่งบนโลกกลมๆ ใบนี้..." เกิดจากการพบเจอกระท่อมซอมซ่อสกปรกตามตรอกซอกซอยเล็กๆ ในบางกอก หลายช่วงตอนในบันทึกเป็นการเขียนถึงสยามที่อาจทำให้คนไทยปัจจุบันที่เป็นผู้อ่าน "จุก" และตั้งคำถามว่าเป็นถึงเช่นนั้นเลยหรือ อย่างในช่วงที่บรรยายถึงคนสยามในช่วงแรกว่า "ชาวสยามนั้นสังเกตง่ายแต่แรกเห็น จากกิริยาท่าทางเฉื่อยแฉะเกียจคร้าน และหน้าตาดูเซื่องๆ เซ่อๆ จมูกออกจะแบนแทบทุกคน โหนกแก้มสูง ดวงตาแลดูทื่อๆ หามีแววฉลาดไม่ รูจมูกบาน ปากกว้างเกินพอดี ริมฝีปากแดงคล้ำเพราะกินหมากเป็นประจำ ซ้ำฟันยังดำสนิทเหมือนไม้มะเกลือ" และยังมีอีกหลายช่วงที่อ่านแล้วอาจรู้สึกได้ว่ามูโอต์นั้นออกจะ "ไม่ปลื้ม" วัฒนธรรม ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติอย่างสยามนัก แม้กระทั่งการละครและการดนตรีที่เขารู้สึกว่า ไม่งามและไม่สนุก ออกจะ "ประหลาดพิลึก" แน่นอน นั่นคือการมองบนฐานความคิดและรสนิยมอย่างชาวตะวันตกที่ทำให้เกิดภาพสยามในมุมมองแตกต่างไปจากที่คนไทยคุ้นชิน
3.คณะละครชาวสยาม ผู้ประกาศให้โลกรู้จัก′นครวัด′ สิ่งที่ทำให้บันทึกของมูโอต์ชิ้นนี้เป็นที่รู้จัก น่าจะเป็นการป่าวประกาศให้โลกรู้จักนครวัดนครธม แม้ช่วงหนึ่งชื่อของเขาจะถูกพูดถึงในฐานะ "ผู้ค้นพบนครวัด" แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีเหตุผลมางัดแย้งว่าความจริงแล้วเขาไม่ใช่ผู้ค้นพบ เพราะปราสาทนครวัดไม่เคยหายสาบสูญไปจากชาวเขมร แต่ยังคงเป็นที่รู้จักในฐานะศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งมูโอต์ไม่ใช่ชาวตะวันตกคนแรกที่มาเยือนดินแดนแถบนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าบันทึกของเขาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยประกาศความยิ่งใหญ่และความงดงามของปราสาทนครวัดให้โลกตะวันตกรู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตะวันตกให้ความสนใจดินแดนที่เคยมีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มาก่อน อ็องรี มูโอต์ กล่าวถึงนครวัดยามแรกเห็นไว้ว่า "หนึ่งในหมู่ศาสนสถานที่เราได้เห็น สูงส่งทรงเกียรติเทียบเคียงได้กับโบสถ์วิหารเก่าแก่งดงามที่สุดของทางเรา และยังยิ่งใหญ่อลังการกว่างานสถาปัตยกรรมฝีมือชาวกรีกและโรมันเสียด้วยซ้ำ ทว่าโบราณสถานแห่งนี้แตกต่างออกไปอย่างน่าเศร้า ชวนให้สลดสังเวชใจกับสภาวะป่าเถื่อนที่ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตชนรุ่นหลังของประชาชาติผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าของผลงานที่ปรากฏสู่สายตาแห่งนี้" เหนืออื่นใดหลักฐานที่บรรยายความงามของเมืองพระนครได้ดีที่สุดน่าจะเป็นรูปสเกตช์ในบันทึก ที่วาดปราสาทนครวัดไว้หลายมุมมอง พิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมเขมรได้เป็นอย่างดี
4.(ซ้าย) อ็องรี มูโอต์ (ขวา) รูปลักษณ์ ชาวสยาม รูปประกอบเป็นงานศิลปะ ความโดดเด่นหนึ่งคือภาพประกอบในบันทึก โดยภาพสเกตช์และภาพถ่ายของมูโอต์ถูกคัดลอกใหม่เป็นภาพวาดลายเส้นเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษาฝรั่งเศส Le Tour du Monde ในปี 1863 และฉบับภาษาอังกฤษ คือ Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860 ในปี 1989 สุจิตต์ วงษ์เทศ ให้ความเห็นไว้ว่า หลักฐานเกี่ยวกับดินแดนแถบอินโดจีนที่ถูกบันทึกในช่วงเดียวกันนั้น มีอยู่มาก แต่ของมูโอต์มีรูปประกอบเป็นงานศิลปะอยู่ด้วย จึงวิเศษกว่าตรงนี้ ส่วนทรรศนะการมองบ้านเมืองในสายตาของเจ้าอาณานิคมดังที่ปรากฏในบันทึกนี้ สุจิตต์บอกว่า "ยุคนั้น ชาวยุโรปมองเมืองทางตะวันออกเป็นเมืองประหลาด ลี้ลับ แล้วเขียนใส่สีสันให้ตื่นเต้นมหัศจรรย์เกินจริงก็ไม่น้อย แน่นอนดูถูกด้วย บางทีดูถูกมาก" "มูโอต์มีส่วนป่าวร้องให้โลกรู้จักนครวัด แต่ไม่ได้ค้นพบ เพราะใครๆ ที่ศรัทธาในบ้านเมืองแถบนี้เขารู้กันทั้งนั้นว่ามีนครวัด" ส่วนภาพลายเส้นในเล่มเขาเขียนถึงไว้ในคอลัมน์สยามประเทศไทย หนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ตอนหนึ่งว่า "ลายเส้นในเล่ม ผมเคยขอยืมใช้ตั้งแต่หลัง พ.ศ.2522 เริ่มทำศิลปวัฒนธรรมรายเดือน และในหนังสือที่เขียนเอง ซึ่งก๊อบปี้จากแหล่งต่างๆ โดยไม่เคยรู้ว่ามาจากต้นฉบับหนังสือของมูโอต์ เพราะหลายสิบปีที่แล้ว ถามใครก็ไม่มีใครมั่นใจตอบได้ว่าลายเส้นของใคร? จากไหน?" มอง′วิถีชีวิต′ในประวัติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ทำให้บันทึกของมูโอต์ ในฐานะเอกสารชั้นต้น สมัยรัชกาลที่ 4 ดูไม่น่าเบื่อ เนื่องจากการเขียนในลักษณะบันทึกของนักสำรวจ คล้ายนักท่องเที่ยวที่บันทึกสิ่งที่พบเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ตามความเห็นส่วนตัว มีแง่มุมเชิงวรรณกรรมมากกว่าเอกสารอื่นๆ ที่พบในช่วงใกล้เคียงกัน รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์กัมพูชา กล่าวว่า เล่มนี้เป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่งในการศึกษา โดยเฉพาะบันทึกส่วนที่เกี่ยวกับกัมพูชาและลาว เส้นทางการเดินทางของมูโอต์ที่เดินทางมากรุงเทพฯ ผ่านไปทางพระตะบอง เสียมราฐ "งานเขียนของมูโอต์ น่าสนใจที่มีการบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวผู้คนของดินแดนแถบนี้เอาไว้ ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ผู้คน สังคมและบ้านเมือง มีแง่มุมอื่นที่นอกเหนือไปจากเรื่องที่บันทึกในเอกสารราชการของยุคนั้น ซึ่งจะเป็นเรื่องการเมืองการปกครองและสงครามมากกว่า" ส่วนที่เขียนถึงนครวัดและเมืองพระนครนั้น อาจารย์ศานติบอกว่า ในดินแดนแถบเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนในยุคนั้นก็รู้จักเมืองพระนครของกัมพูชาอยู่แล้ว ตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาสืบเนื่องมาถึงรัตนโกสินทร์ นครวัดเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญ มีทั้งคนไทย กัมพูชา กระทั่งชาวญี่ปุ่นก็เคยเดินทางไป "มูโอต์ไม่ได้เป็นคนที่มาพบเป็นคนแรก แต่มูโอต์เป็นคนนำเรื่องเมืองพระนครไปเผย. ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เพิ่มภาพจาก www ครับ.
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.

1 ความคิดเห็น:

  1. อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot)
    ผู้เปิดดินแดนอินโดจีนสู่สังคมโลก

    ตอบลบ