วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

28.10.2558 ประเพณี "ปอยออกหว่า" ซึ่งเป็นประเพณีออกพรรษาของชาวไทใหญ่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

เทศบาลตำบลแม่วาง นำโดย นางสายฝน สินธุมัด รองนายกเทศมนตรีตำบลแม่วาง พร้อมด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล ข้าราชการประจำ และพนักงานเทศบาล ร่วมเดินขบวนเนื่องในประเพณี "ปอยออกหว่า" ซึ่งเป็นประเพณีออกพรรษาของชาวไทใหญ่ โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี (28 ตุลาคม 2558) ขอบคุณ ภาพและข่าว จาก fb:เทศบาลตำบลแม่วาง เชียงใหม่

1 ความคิดเห็น:

  1. ประเพณี "ปอยออกหว่า" ซึ่งเป็นประเพณีออกพรรษาของชาวไทใหญ่

    คำว่า ปอย เป็นภาษาเหนือ หมายถึงงานบุญ ส่วนคำว่าออกหว่านั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง ระหว่างออกพรรษา เพราะฉะนั้นเมื่อสองคำนี้มารวมกันจึงหมายความถึง งานบุญที่จัดขึ้นระหว่างออกพรรษา นั่นเอง

    ชาวไทยใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับงานปอยออกหว่านี้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่บนสรวงสวรรค์ และทรงเสด็จลงโปรดสัตว์ให้สรรพสิ่งในโลกมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ในโบราณคดี เช่น นกและสิงโต รวมไปถึงสัตว์อื่นๆอีกมากมาย และในคืนแรม 1 ค่ำสัตว์เหล่านี้จะพากันออกมาฟ้อนรำ เปรียบเสมือนเป็นการคารวะและแสดงความยินดีที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลงมาเทศนาเพื่อโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์

    จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวไทยใหญ่ยังคงมีความเชื่อในตำนานนี้ และได้สมมุตติให้มีการแสดงเลียนแบบสัตว์ต่างๆในวรรณคดี เช่น ฟ้อนกิ่งกาหล่า ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบนกยูง โดยใช้ผู้แสดงที่เป็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่น่าสนใจคือการเต้นโต แต่คราวนี้ใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชาย

    โดยงานปอยออกหว่าหลักๆแล้วจะมีงานอยู่ทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน วันแรกนั้นแต่ละบ้านจะตระเตรียมข้าวของที่จะมาทำบุญและของกินของใช้ระหว่างที่จะมานอนค้างที่วัดด้วย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่หรือที่เรียกว่า พ่ออุ้ยแม่อุ้ย และเมื่อเตรียมของเสร็จแล้วก็จะพร้อมใจมารวมกันที่วัดเพื่อช่วยกันเตรียมของทำบุญร่วมกันต่อไป

    ส่วนวันที่สองจะถือได้ว่าเป็นงานบุญ พี่น้องชาวไทยใหญ่ที่ไม่ได้นอนที่วัดจะเดินทางมาสมทบกับพวกที่อยู่ที่วัดก่อนแล้ว ตั้งแต่จะเช้าจะมีการทำบุญต่างๆตามความเชื่อตามศาสนาพุทธและความเชื่อตามท้องถิ่น ระหว่างนี้บางคนอาจถือศีลและนุ่งขาวห่มขาวด้วย

    และวัดสุดท้ายคือวันที่สามนั้น ซึ่งเป็นคืนแรม 1 ค่ำ จะมีพิธีแห่ต้นเทียน(หรือเรียกอีกชื่อว่าต้นเกี๊ยะ เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม้เกี๊ยะคือเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง)และมีการละเล่นพื้นบ้านต่างๆมากมายท่ามกลางแสงสว่างของต้นเกี๊ยะ ชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจะมาร่ายรำกันดูสวยงามแปลกตาเป็นภาพที่หาชมไม่ได้ง่ายนักในพื้นราบ การร่ายรำแม้มิได้อ่อนช้อยแต่ก็ดูงดงามและน่าสนใจมิใช่น้อย

    ตอบลบ