วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

08.10.2558 ๑๒๐ ปี ๑๒ พระมหาเถระ เจ้าคณะปกครองสูงสุดของเชียงใหม่มหานคร

๑๒๐ ปี ๑๒ พระมหาเถระ เจ้าคณะปกครองสูงสุดของเชียงใหม่มหานคร ขอบคุณ ภาพและข่าว จาก fb:พระมหาสง่า ไชยวงค์ ยุคอาณาจักรลานนา นับตั้งแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช (พ.ศ.๑๗๘๒ – ๑๘๖๐) ซึ่งได้สร้างเมืองเชียงราย (พ.ศ.๑๘๐๕) และสร้างเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.๑๘๓๙) เนื่องจากพ่อขุนเม็งรายมหาราชทรงมีกษัตริย์พี่น้องร่วมสาบาน คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่งเมืองสุโขทัย และ พ่อขุนงำเมืองแห่งเมืองพะเยา เมื่อเจ้าเมืองมีความสัมพันธ์ไมตรีกัน การปกครอง การศาสนา การค้าการขายและอื่น ๆ ก็มีความเชื่อมโยงกัน พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางประกาศเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ต่อมาก็ได้มาเผยแผ่ในดินแดนลานนา เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน ยิ่งในยุคของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕ – ๒๐๓๐) อันเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา สามารถจัดทำประชุมสังคายนา ครั้งที่ ๘ ของโลก ณ วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ มีพระมหาเถระที่มีชื่อเสียง เช่น พระสิริมังคลาจารย์ พระรัตนปัญญาญาณ พระพรหมราชปัญญา พระธรรมทิน เป็นต้น การปกครองการคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ก็ยังรักษาพระธรรมวินัย จารีตประเพณี โดยมี “พระครูบา” หรือ “สังฆราชา” ประจำเมืองต่าง ๆ คอยกำกับดูแล และยึดโยงผูกพันกันตามลำดับ การคณะสงฆ์จึงมีความเรียบร้อยตามลำดับมา ยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕) ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การคณะสงฆ์ของประเทศไทย รวมทั้งภาคเหนือของเราก็ยังเป็นไปตามพระธรรมวินัย เหมือนเดิม แต่ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) มีการปกครองแบบ (มหาเถรสมาคม” ซึ่งได้แบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ เป็นคณะมณฑล คณะเมือง คณะแขวง และคณะหมวด สำหรับภาคเหนือตอนบน เรียกเขตปกครองว่า “มณฑลพายัพ” มีเจ้าคณะมณฑล ๒ รูป คือ ยุคมณฑลพายัพ ๑. สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต ป.ธ.๗) วัดเบญจมบพิตร เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ พ.ศ.๒๔๔๙ – ๒๔๗๑ ดำรงตำแหน่งขณะเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ “พระธรรมไตรโลกาจารย์” ๒. สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.๙) วัดเบญจมบพิตร เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ (พ.ศ.๒๔๗๑ - ๒๔๘๔) ดำรงตำแหน่งขณะเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ “พระเทพมุนี” สมณศักดิ์ชั้นสูงสุด คือ สมเด็จพระอริยวงญาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๔ การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ดังกล่าว ส่งผลให้ระบบการสถาปนาการปกครองสงฆ์โดยเจ้าปกครองเมืองต่าง ๆ การแต่งตั้งสมเด็จสังฆราชา สังฆปาโมกข์ ครูบา สิ้นสุดลง พระครูบาหลวงวัดฝายหิน เป็นรูปสุดท้ายของล้านนา มณฑลพายัพ แลเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รูปแรก นับตั้งแต่ พ.ศ.2438 เป็นต้นมา จ.เชียงใหม่ มีเจ้าคณะจังหวัดแล้ว ๑๒ รูป (เก็บความจากบทความของ พระธรรมราชานุวัตร) ปรับปรุงล่าสุด โดย ส.ธีรสํวโร 8 ตุลาคม 2558
0.หนังสือทำเนียบพระสังฆาธิการ เจ้าคณะจังหวัด-รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2438 - 2546 เจ้าคณะอำเภอ - รองเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2451 - 2546 เรียบเรียง โดยพระครูรัตนชัยธรรม วัดเมืองสาตรหลวง พิมพ์ ครั้งที่ ๑ กันยายน 2546 จำนวน 100 เล่ม.
1.รูปที่ ๑ พระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์ (อุ่นเรือน โสภโณ) วัดฝายหิน พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๕๗
2.รูปที่ ๒ พระโพธิรังสี มารชีศาสนาธิการ(จันทร์แก้ว คนฺธาโร) วัดเชตุพน พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๕
3.รูปที่ ๓ พระอภัยสารทะ (ก้อนแก้ว อินฺทจกฺโก) วัดเชตะวัน พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๗๓
4.รูปที่ ๔ พระอภัยสารท นพีสีบุรวุฑฒาจารย์ สังฆปาโมกข์(อุทธา อภิวํโส) วัดทุงยู พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๘๓
5.รูปที่ ๕ พระโพธิรังสีมารชีศาสนาธิการ(ศรีโหม้ คนฺธาโร พ.ศ.๒๔๙๐ ได้รับเลื่อนเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในราชทินนามเดิม) วัดพระสิงห์ฯ พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๙๒
6.รูปที่ ๖ พระมงคลราชมุนี สุทธิศีลพรตนิเวฐเจษฎาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) วัดเชตะวัน พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๐๕
7.รูปที่ ๗ พระเทพวิสุทธาจารย์ (อินสม อภิชโย) วัดดอยสุเทพ พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๒๓
8.รูปที่ ๘ พระเทพวรสิทธาจารย์ ปฏิภาณธรรมโกศล มหาชนปสาทกร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) วัดสำเภา 2524-2532 อดีตเจ้าอาวาสวัดสำเภา อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐
9.รูปที่ ๙ พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) วัดพระสิงห์ฯ พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๔๑
10.รูปที่ ๑๐ พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คนฺธวโร) วัดบุพพาราม พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ หลวงปู่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
11.1รูปที่ ๑๑ พระเทพโกศล วิมลศีลาจารนิวิฐ โสภิตธรรมธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี(สังวาลย์ พรหฺมวณฺโณ) วัดศรีโสดา พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๘ (เกษียณอายุ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา) ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ (ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ ไพบูลย์สังฆานุนายกปิฎก ธรรมวิจิตร ฐานานุกรมของพระพุทธิวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรพุทธิธาดา พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามที่ พระราชวิมลเมธี ศรีปริยัติกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ราชทินนาม ที่ พระเทพโกศล วิมลศีลาจารนิวิฐ โสภิตธรรมธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี)
11.2รูปที่ ๑๑ พระเทพโกศล วิมลศีลาจารนิวิฐ โสภิตธรรมธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี(สังวาลย์ พรหฺมวณฺโณ) วัดศรีโสดา พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๘ (เกษียณอายุ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา) ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗
12.1เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รูปที่ ๑๒ หลวงพ่อพระเทพปริยัติ(สอาด ปธ.๗) รับพระบัญชาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ณ อุโบสถวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน
12.2 เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รูปที่ ๑๒ หลวงพ่อพระเทพปริยัติ(สอาด ปธ.๗) รับพระบัญชาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ณ อุโบสถวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น