01.ปากถ้ำฟ็องญา The mouth of Phong Nha Cave) จังหวัดกว๋างบิ่ญ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม.
ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://vovworld.vn/th-TH/ อุทยานแห่งชาติฟองญา-แก๋บ่าง จังหวัดกว่างบิ่นห์.vov
( VOVworld )-อุทยานแห่งชาติฟองญา-แก๋บ่าง จังหวัดกว่างบิ่นห์รวมพื้นที่ ๔ อำเภอได้แก่ กว่างนินห์ โบ๊แจก เตวียนฮว้าและมินห์ฮว้า ที่มีคุณค่าทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศธรณีสันฐานวิทยาและทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติที่มีถ้ำ ธารน้ำและภูเขาสลับซับซ้อน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียบอุทยานแห่งชาติฟองญา-แก๋บ่างเป็นมรดกธรรมชาติโลกด้านธรณีวิทยาเมื่อปีค.ศ.๒๐๐๓
อุทยานแห่งชาติฟองญา-แก๋บ่างมีเนื้อที่ราว ๒ แสนเฮกต้าร์ ซึ่งเนื้อที่สองในสามมีลักษณะของคาสต์หรือลักษณะหินปูน ที่นี่มีถ้ำน้อยใหญ่หลายๆแห่งและโพรงน้ำใต้ดินยาวราว ๓๐๐ กิโลเมตร ทำให้ฟองญา-แก๋บ่างมีคุณค่าทางธรณีวิทยาระดับโลกที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นโลกมากว่า ๔๐๐ ล้านปี
ภูเขาหินปูนก่อเกิดถ้ำสวยงามอันมหัศจรรย์หนึ่งไม่มีสองด้วยถ้ำน้อยใหญ่กว่า ๓๐๐ แห่งทำให้ฟองญา-แก๋บ่างถือได้ว่าเป็นดินแดนแห่งถ้ำที่ถูกตบแต่งไปด้วยหินงอกหินย้อยสีสันสดสวยที่มีรูปต่างๆที่แปลกๆและหลากหลาย นักสำรวจถ้ำสหราชอาณาจักรเห็นว่า ฟองญาเป็นถ้ำแห่งหนึ่งไม่มีสองในเวียดนามที่ได้มาตรฐาน ๗ ประการคือ โพรงน้ำใต้ดินสวยที่สุด ปากทางเข้าถ้ำกว้างและสูง หาดทรายและโขดหินสวย บ่อน้ำใต้ดินสวย ถ้ำแห้งและสวย ระบบหินงอกหินย้อยมหัศจารรย์และถ้ำน้ำยาวที่สุด บทความและภาพถ่ายเกี่ยวกับถ้ำฟองญาได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของยุโรป ๑๔ แห่งทำให้ฟองญาเป็นที่รู้จักว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งไม่มีสอง คุณโด่ทูห่งนักท่องเที่ยวชาวฮานอยเล่าเรื่องเที่ยวชมฟอญาว่า “ พวกเราไปที่นั่นในฤดูร้อน ซึ่งภาคกลางช่วงนั้นร้อนอบอ้าว แต่อากาศที่อุืทยานฟองญา-แก๋บ่างเย็นสบาย แม่น้ำซอน มีน้ำใสสีเขียวอ่อนเราสามารถมองเห็นก้นแม่น้ำได้ ฟองญา-แก๋บ่างมีทั้งแม่น้ำและภูผาที่ยังคงความเป็นธรรมชาติทำให้มันสวยมาก ทริปนั้นพวกเราได้เข้าไปชมถ้ำหลายแห่งเช่น ถ้ำโกเตียนหรือนางฟ้า ถ้ำกุงดิ่นห์หรือพระราชวังและถ้ำบีกี่ ดิฉันรู้สึกสบายเมื่อมาที่นี่ ”
02.2 ถ้ำฟองญา-แก๋บ่าง
ถ้ำเทียนเดื่องหรือถ้ำสวรรค์ได้ชื่อว่า พระราชวังใต้ดินถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สวยงามสมความร่ำลือที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยวฟองญา-แก๋บ่าง โดยมุดผ่านปากถ้ำที่แคบๆเข้าไปข้างใน นักท่องเที่ยวจะได้อยู่บนวิมานดิน ซึ่งนายมาร์ติน ฮอลรอยด์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับถ้ำชาวอังกฤษเคยให้ความคิดเห็นว่า หากมีรายการพิเศษเขาจะจัดถ้ำสวรรค์ให้อยู่ในรายการนี้ ที่นี่มีหินงอกหินย้อยหลากหลายรูปส่งประกายระยิบระยับเมื่อโดนแสงไฟที่นักท่องเที่ยวสามารถจินตนาการเป็นรูปร่างต่างๆได้ นายเจิ่นแองกวนชาวฮานอยที่เคยไปเที่ยวฟองญา-แก๋บ่างเล่าว่า “ เมื้อเดินตามบันไดลงถ้ำเทียนเดื่องหรือถ้ำสวรรค์ ผมรู้สึกเหมือนได้สำรวจชั้นใต้ดิน ความสวยงามและยิ่งใหญ่ของถ้ำไม่สามารถบรรยายให้หมดได้ หินงอกหินย้อยที่ธรรมชาติบันดาลให้เป็นรูปต่างๆไม่ว่าจะเป็นบ้านโรงหรือบ้านเรือนไม้ยกพื้น พระปรางค์ของชนเผ่าจาม รูปหงษ์และพระแม่มารีย์ ที่นี่มีหินงอกหินย้อยมากกว่าที่ถ้ำฟองญา ปีหน้าผมจะมาอีกเพื่อเที่ยวชมถ้ำอื่นๆ ”
ปี ๒๐๐๙ คณะนักวิทยาศาสตร์ของสมาพันธ์ถ้ำสหราชอาณาจักรได้ค้นพบถ้ำอีกหนึ่งแห่งที่ฟองญา-แก๋บ่างนั่นคือ ถ้ำเซินด่อองที่กว้าง ๒๐๐ เมตร สูงกว่า ๑๕๐ เมตรและยาวประมาณ ๖.๕กิโลเมตร ทั้งนี้ทำให้ถ้ำเซินด่อองกลายเป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดของโลกแซงหน้าถ้ำดีร์( Deer )ในอุทยานแห่งชาติกูนูง มูลู( Gunnung Mulu) ของมาเลเซีย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัยและค้นหานั้น ถ้ำเซินด่อองกำลังรอคอยพวกคุณอยู่ นายปิ๊ค มาลคอล์ม คนอังกฤษกล่าวว่า “ ผมอยากร่วมทริปค้นหาถ้ำเซินด่อองเพราะมันพิเศษกว่าถ้ำฟองญา ผมชอบความเป็นธรรมชาติมากกว่า ”
02.3 ทางเข้าถ้ำฟองญา-แก๋บ่าง
อุทยานแห่งชาติฟองญา-แก๋บ่างยังมีระบบนิเวศป่าดงดิบบนภูเขาหินปูนที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ซึ่งเป็นระบบนิเวศอันหลากหลายเหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์ืำืทำศึกษาเพราะที่นี่มีความหลากกหลายทางชีวิภาพและเป็นศูนย์รวมของสัตว์และพืชพิเศษของเวียดนามและโลก โดยมีพืชพันธุ์ประมาณ ๔๒๐ ชนิดและสัตว์ ๓๐ ชนิด มีพืชพันธุ์ ๑๑๖ ชนิดและสัตว์ ๑๖๖ ชนิดที่ได้ระบุในสมุดปกแดงของเวียดนามและโลก ฟองญา-แก๋บ่างถูกระบุในรายชื่อเขตสงวนชีวมณฑลสำคัญในแผนการอนุรักษ์ชีวภาพแห่งชาติและถูกระบุเป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพหนึ่งใน ๒๐๐ แห่งของโลกจากกองทุนอนุรักษ์ธรรมชาติโลกหรือWWF ในพื้นที่ฟองญา-แก๋บ่างยังมีชนเผ่า ๓ เผ่าอาศัยอยู่ได้แก่ ชนชาติกิงห์ ชนเผ่าบรู-เวินเกี่ยวและชนเผ่าชืดที่มีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์อันหลากหลายเช่น งานเทศกาลตีกลองของชนเผ่ามากออง การร้องอุปรากรของคนเคืองห่า ซึ่งน่าสนใจคือ ชนเผ่าหรุกและอาแรมของชาติพันธุ์ชืดที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ
ระบบนิเวศที่หลากหลาย ทิวทัศน์สวยงาม โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทำให้ฟองญา-แก๋บ่างเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวเวียดนามและต่างประเทศหลั่งไหลมาเที่ยวหลายหมื่นคนต่อปี ./.
ขอบคุณข้อมูล จาก http://www.vntoyou.com/phongya.html
ตอบลบอุทยานฟองญา แกะบ่าง
• อุทยานแห่งชาติฟองญา – แกะบ่าง (Phong Nha - Ke Bang) อยู่ห่างจากนครโด่งเหย (Dong Hoi) ไปทางทิศเหนือราว 50 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 200,000 เฮกตาร์ (Ha) อยู่ในเขตจังหวัดกว่างบิ่นห์ (Quang Bình) ซึ่งเป็นจังหวัดอยู่ในพื้นที่ของภาคกลางเวียดนาม โดยหางจากกรุงฮานอยทางทิศเหนือประมาณ 488 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติฟองยา – แกะบ่าง มีพื้นที่ทั้งที่อยู่ในประเทศเวียดนาม และส่วนที่อยู่ในประเทศลาวอีกด้วย โดยรวมแล้ว จะมีเนื้อที่กว้างถึง 400,000 เฮกตาร์ อุทยานแห่งชาติฟองยา – แกะบ่างเป็นเขตป่าและภูเขาหินปูนที่มีอายุประมาณ 400 ล้านกว่าปี ถือว่าเก่าแก่ที่สุดของทวีปเอเชีย 90% พื้นที่ของป่าไม้ในอุทยาน ฯ คือป่าธรรมชาติ และเนื่องจากเป็นเขตของภูเขาหินปูนนี้เองจึงได้ทำให้มีมากอุโมงค์และถ้ำที่สวยงามไปตามแนวของภูเขา จากการสำรวจของระหว่างสมาคมภูมิประเทศแห่งสหราชอาณาจักรกับภาควิชาภูมิประเทศและธรณีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ เวียดนาม (มหาวิทยาลัย กรุงฮานอย) ปรากฎว่า ในบริเวณภูเขาเนินหินปูนแกะบ่างนั้นมีทั้งถ้ำลอดของแม่น้ำชอน (Song Son) โดยมีความยาวถึง 13,969 เมตรและมีทั้งโถงต่าง ๆ ที่มีความสูงเฉลี่ยจากพื้นจรดเพดานถ้ำ 10 – 14 เมตร มากกว่า10 แห่งอีกด้วย เฉพาะส่วนถ้ำฟองยาที่ซึ่งขณะนี้สามารถสำรวจได้นั้นก็มีความยาว ราว 7,700 เมตร และมีการประมาณว่าความยาวของถ้ำที่มีทั้งหมดในอุทยาน ฯ แห่งนี้รวมแล้วก็ไม่ต่ำกว่า 44 กิโลเมตร
ฟองยา เป็นถ้ำที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นที่สุด 7 “ที่สุด”ทั้งนี้ ได้แก่ ถ้ำอยู่ในน้ำยาวที่สุด มีปากถ้ำกว้างและสูงที่สุด มีเนินทรายและหินใต้น้ำสวยที่สุด มีทะเลสาบน้ำจืดในถ้ำสวยที่สุด มีหินงอกหินย้อยรูปทรงต่าง ๆ สวยงามพิศดารสุดจะพรรณา มีลำน้ำลอดภูเขายาวที่สุด (13,969 เมตร) และถ้ำที่มีทั้งแห้ง ทั้งกว้างและสวยที่สุด
• องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ให้ขึ้นทะเบียน อุทยานแห่งชาติฟองยา – แกะบ่าง เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ 2546 การเที่ยวชมอุทยานฟองยา – แกะบ่าง จะเป็นการนั่งเรือไปเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากเที่ยวชมวิวทิวทัศน์แล้วยังสามารถสัมผัสกับชีวิต กับวัฒนธรรมของชาวเขา– ราษฎรชาวเวียดนาม ซึ่งจะมีทั้งเผ่าแซจ (Nguoi Sach) เผ่าไหม่ (Nguoi Mày) เผ่าหรุก (Nguoi R?c) เผ่าอาแรม (Nguoi A Rem)และเผ่ามะเหลี่ยง (Nguoi Ma Lieng) อีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 บาดหลวงชาวฝรั่งเศส นาย Cadiereได้ทำการสำรวจถ้ำ ฯ เป็นครั้งแรกและก็ได้พบเจอเอกสารที่ชาวจามได้แกะสลักเป็นภาษาจามไว้ในถ้ำที่ และเขาได้กล่าวด้วยว่า “ถ้ำสวยที่สุดในอินโดจีน”.