Wat Ayodhya, Ayutthaya, Thailand.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Wat Ayodhya, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1148/thailand/ayutthaya/wat-ayodhya
Wat Ayodhya (วัดอโยธยา) (age uncertain)
Wat Ayodhya stands to the northeast of Ayutthaya city island about 600 meters north of Wat Kudi Dao, and 240 meters south of Wat Dusidaram. The temple comprises three structures of interest: a renovated ubosot (ordination hall) to the east, a small redented chedi to the west and a massive Sinhalese-style chedi with a tall square base to the west. The name of the site is derived from its status as one of the few temples that potentially predate the founding of Ayutthaya in the mid-14th century. Derrick Garnier, the author of "Ayutthaya: Venice of the East" notes that the main chedi may have been built in the Sukhothai period and remodeled in later eras. Architecturally, the present form of the chedi is something of a puzzle: although the superstructure is classically Sinhalese—a style common in the so-called second sub-period of Ayutthayan architecture (1463-1628)—the enormous square base has no contemporary parallel, with the possible exception of Wat Yai Chai Mongkohn.
In the early 2000s the chedi was in poor shape with at least one corner of the base collapsed and the superstructure covered with damaging vegetation. The Fine Arts Department recently restored the site but did not rebuild the spire of which there is no longer any trace.
To the east of the main chedi is a smaller chedi constructed in Late Ayutthaya style (1629-1767). The ubosot to the east is an original building but it has been so heavily restored that it has lost much of its historic character. Additional modern temple buildings are located to the south.
Location
The approximate location of the site is 14.368344' N, 100.589508' E (WGS 84 map datum).
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
02.Wat Ayodhya, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
12.Wat Ayodhya, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Wat Ayodhya, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1148/thailand/ayutthaya/wat-ayodhya
----------------------------------------------------------------------
จาก http://www.watayodhaya.com/index.php?url=about&id=1&code=temple
1.วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
ประวัติวัดอโยธยา
วัดอโยธยาตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของเขตอนุรักษ์เมืองเก่าอโยธยา ในท้องที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกได้อีกอย่างว่า วัดศรีอโยธยา หรือวัดเดิม ตามตำนานในพงศาวดารเหนือเชื่อว่า บริเวณของวัดนี้เคยเป็นพระราชวังสมัยอโยธยา ต่อมาเมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองได้ถวายพื้นที่วังให้สร้างเป็นวัด จึงได้ชื่อว่า วัดเดิม อันเป็นศูนย์กลางของเมืองอโยธยาริมแม่น้ำป่าสัก ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ณ หนองโสน
ตำนานวัดเดิมหรือวัดอโยธยานี้เป็นตำนานในแบบเดียวกันกับตำนานการสร้าง วัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งต่างกันตรงที่ว่าตำนานวัดอโยธยาเชื่อว่าศูนย์กลางของเมืองเดิมก่อนสร้าง อยุธยาอยู่ด้านตะวันออกของเกาะกรุงศรีอยุธยาด้านริมแม่น้ำป่าสัก ส่วนตำนานวัดพุทไธสวรรย์ว่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านใต้ของเกาะกรุง1
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์รูปนี้เป็นผู้แต่ง “ราโชวาทชาดก” (ชาดกสำหรับสอนพระเจ้าแผ่นดิน) ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย ต่อมาก็มีพระอุบาลีเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้อีกรูปหนึ่ง2
นอกจากนี้ ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “เรือน” ลงมาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาจนได้เป็นเปรียญและเลื่อนเป็น “พระพากุลเถร” ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระอยู่ ณ วัดนี้ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงสถาปนาเป็นพระสังฆราชแห่งเมืองสวางคบุรี ณ วัดพระฝาง (อยู่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) แต่เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 หัวเมืองทั้งปวงไม่มีพระราชาธิบดีปกครองก็พากันตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าหลายก๊ก หลายเหล่า สังฆราชองค์นี้เป็นผู้ที่ชาวเมืองเชื่อถือว่ามีวิชาอาคมเชี่ยวชาญ ก็สลัดผ้าเหลืองแล้วห่มผ้าแดงแทนสถาปนาตนเป็น “เจ้าพระฝาง” ตั้งเป็นก๊กเจ้าพระฝางโดยมีพระสงฆ์เป็นแม่ทัพขุนศึก ภายหลังสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีทรงยกทัพขึ้นไปปราบปราม เมื่อ พ.ศ. 2313 ตีได้หัวเมืองซึ่งเป็นอาณาเขตของเจ้าพระฝางทั้งหมด ส่วนตัวเจ้าพระฝางนั้นหนีแล้วหายสูญไป3
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในปลายรัชสมัย พ.ศ. 2451 ทรงระบุว่า วัดเดิมนี้คือวัดโบราณ มีมาแต่สมัยอโยธยา เป็นวัดคามวาสีที่ตั้งอยู่กลางพระนครอโยธยา ดังนั้น พื้นที่ในบริเวณนี้จึงเชื่อกันว่าเป็นเมืองอโยธยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นในระยะต่อมาจึงได้มีการเรียกชื่อใหม่เป็นวัดอโยธยา เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อนี้4
วัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองวัดกุฎีดาว ซึ่งปัจจุบันก็คือถนนที่ผ่านหน้าวัด โดยตั้งใกล้ปากคลองที่บรรจบกับคลองหันตราทางตอนเหนือ สิ่งก่อสร้างในเขตพุทธาวาสที่ยังคงเห็นได้คือเสาประตูทางเข้าด้านหน้าทิศ ตะวันออก เป็นเสาย่อมุมไม้สิบสอง สูงประมาณ 2.50 เมตร ถัดมาเป็นเจดีย์ 2 องค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 เพื่อบรรจอัฐิของพระอธิการวัดและญาติ จากนั้นเป็นพระอุโบสถถที่สร้างขึ้นใหม่บนฐานที่เคยเป็นพระอุโบสถสมัยอยุธยา5
วัดอโยธยาหรือวัดเดิมนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารอยุธยาถึงการบูรณปฏิสังขรณ์แต่ประการใด แต่น่าเชื่อว่าคงจะเป็นวัดหลวงที่เจ้าอาวาสที่ความสำคัญและมีบทบาททางศาสนา ในสมัยอยุธยาวัดหนึ่ง เช่น ในสมัยพระนารายณ์วัดนี้มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็ฯผู้มีภูมิรู้แตกฉานใน คัมภีร์พระไตรปิฎก เชื่อว่าสมเด็จฯ องค์นี้คือผู้แต่ง “ราโชวาทชาดก” ซึ่งเป็นชาดกสำคัญของราชสำนักอยุธยา7
น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนเล่าถึงวัดเดิม (วัดอโยธยา) ไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐที่อยุธยาว่า “มีเจดีย์ทรงลังกาแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานสูงเห็นได้แต่ไกล ตัวเจดีย์ยอดหักลงมาแต่บัลลังก์ฐานทักษิณก่อสูงมาก แปลกตา ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน องค์ระฆังปั้นปูนเป็นกลีบบัวซ้อนเหมือนกลุ่มหัวเสา มีบันไดขึ้นองค์เจดีย์ด้านหน้าและด้านหลัง ใบเสมาวัดเดิมทำด้วยหินทรายขาวลายคล้ายใบโพธิ์ขนาดใหญ่ติดอยู่ตรงกลาง จัดเป็นใบเสมาแบบเก่าเห็นมีอยู่หลายชิ้น เข้าใจว่าจะเป็นของเดิม ทางวัดก่อสร้างอุโบสถใหม่ ได้เอาใบเสมาแบบนี้มาติดอยู่หน้าอุโบสถอันหนึ่งซุ้มประตูกำแพงฝีมือช่างสมัย พระนารายณ์และเห็นใบเสมารุ่นพระนารายณ์พิงอยู่อันหนึ่ง จึงเข้าใจว่าจะมาปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่สมัยพระนารายณ์ เจดีย์ฐานย่อมุมสิบสองถูกรื้อทำลายเสียแล้วกลายเป็นอุโบสถแทนที่ ภูมิประเทศรอบๆ วัดเดิมเป็นที่ลุ่ม ตัววัดต้องอยู่บนดอน ยังมองไม่เห็นว่ามีเค้าของเก่าอยู่ตรงไหน แปลกตรงฐานเจดีย์ซึ่งก่อสูงมาก บางทีอาจจะเป็นฐานเจดีย์เก่าแล้วจึงปฏิสังขรณ์ สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมบนนั้นในภายหลัง
2.วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนเล่าถึงวัดเดิม (วัดอโยธยา) ไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐที่อยุธยาว่า “มีเจดีย์ทรงลังกาแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานสูงเห็นได้แต่ไกล ตัวเจดีย์ยอดหักลงมาแต่บัลลังก์ฐานทักษิณก่อสูงมาก แปลกตา ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน องค์ระฆังปั้นปูนเป็นกลีบบัวซ้อนเหมือนกลุ่มหัวเสา มีบันไดขึ้นองค์เจดีย์ด้านหน้าและด้านหลัง ใบเสมาวัดเดิมทำด้วยหินทรายขาวลายคล้ายใบโพธิ์ขนาดใหญ่ติดอยู่ตรงกลาง จัดเป็นใบเสมาแบบเก่าเห็นมีอยู่หลายชิ้น เข้าใจว่าจะเป็นของเดิม ทางวัดก่อสร้างอุโบสถใหม่ ได้เอาใบเสมาแบบนี้มาติดอยู่หน้าอุโบสถอันหนึ่งซุ้มประตูกำแพงฝีมือช่างสมัย พระนารายณ์และเห็นใบเสมารุ่นพระนารายณ์พิงอยู่อันหนึ่ง จึงเข้าใจว่าจะมาปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่สมัยพระนารายณ์ เจดีย์ฐานย่อมุมสิบสองถูกรื้อทำลายเสียแล้วกลายเป็นอุโบสถแทนที่ ภูมิประเทศรอบๆ วัดเดิมเป็นที่ลุ่ม ตัววัดต้องอยู่บนดอน ยังมองไม่เห็นว่ามีเค้าของเก่าอยู่ตรงไหน แปลกตรงฐานเจดีย์ซึ่งก่อสูงมาก บางทีอาจจะเป็นฐานเจดีย์เก่าแล้วจึงปฏิสังขรณ์ สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมบนนั้นในภายหลัง
3.วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
4.วัดอโยธยา ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
สภาพโดยทั่วไป
1. ประตูเข้าบริเวณพุทธาวาส อยู่ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกมีด้านละ 1 ประตู ที่ยังเห็นได้ชัดเจนมีอยู่เพียงด้านเดียวคือทิศตะวันออก ประตูนี้ไม่มีซุ้มบนเสาประตูทั้งสองข้างทำเป็นเรือนแก้วจตุรมุขซ้อน 2 ชั้น มีบัวคว่ำและบัวหงาย ตัวเสาประตูย่อมุมไม้สิบสอง สูงประมาณ 2.50 เมตร
2. เจดีย์คู่ เมื่อเข้าประตูทางทิศตะวันออกมีเจดีย์อยู่ทางซ้ายและขวา 2 องค์ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม ฐานลักษณะแข้งสิงห์ ได้สอบถามจากผู้เชื่อถือได้ ได้ความว่า เป็นของสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อบรรจุอัฐิของพระอธิการ ต่าย เจ้าอาวาสในสมัยนั้นและอีกองค์หนึ่งบรรจุอัฐิของนายสังข์ - นางเกษม (โยมของพระอธิการ ต่าย)
3. อุโบสถ ได้สร้างขึ้นใหม่ตามรากฐานเดิม มีขนาดกว้างประมาณ 9เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร ภายในมีพระประธานปางมารวิชัย ปูนปั้น เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ตามคำบอกเล่า พระประธานองค์เดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาปิดทอง เข้าใจว่าพระประธานองค์เดิมคงจะสวยงามมาก แต่เป็นเพราะอุโบสถเดิมไม่มีหลังคา วัดนี้ใกล้จะร้างไปครั้งหนึ่ง ขาดผู้เอาใจใส่จึงชำรุดทรุดโทรมไป ทั้งโดยธรรมชาติและผู้หวังประโยชน์จากองค์พระเป็นแน่ ประประธานองค์ปัจจุบันประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง 1.44 เมตร หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูงประมาณ 4.90 เมตร อุโบสถหลังเดิมมีมุขกระสันตรงกลางด้านเหนือและใต้ และผู้บอกเล่ายังจำได้ว่ามุขทั้งสองด้านนี้มีชั้นลด มาในชั้นหลังเมื่อได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ตามแนวรากฐานเดิม ผู้สร้างไม่ได้ทำมุขกระสันทั้งสองข้างเหมือนของเดิม ปัจจุบันอุโบสถทางวัดได้ตกแต่งทาสีใหม่แล้ว
4. พระปรางค์ ตั้งอ่หลังอุโบสถ ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทักษิณสูง 3.66 เมตร มีบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ระหว่างบัวควำ่บัวหงายชั้นที่สองมีช่องรูปกากบาทด้านละ 7 ช่อง ปัจจุบันยังเหลือสูงจากฐานทักษิณขึ้นไปประมาณ 3.00 เมตรเศษ ยอดพระปรางค์หักลงมา ยังปรากฎอยู่เป็นกลีบขนุน น่าจะเป็นฝีมือช่างสมัยหลังราวๆ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
5. เจดีย์ประธาน มีลักษณะฐานสี่เหลี่ยมชั้นล่างสูง 1 เมตร มีบัวคว่ำบัวหงาย กว้าง 1.90 เมตร ทักษิณสูงประมาณ 7 เมตร มีบัวคว่ำบัวหงาย ฐานเจดีย์ทรง 8 เหลี่ยมมีบัวคว่ำบัวหงาย บันได้ขึ้นด้านตะวันออก 1 บันได้ มีระฆังทรงกลมโดยรอบมีกลีบบัวซ้อน 2 ชั้น ปลายกลีบบัวมีลักษณะอ่อนช้อย บัลลังก์ 8 เหลี่ยม มีเสาหานและบัวถลาเป็นส่วนที่เหลืออยู่ประมาณความสูงได้ราว 30 เมตรเศษ เจดีย์องค์นี้มีลักษณะคล้ายๆ กับเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท ที่ทักษิณสูง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พบเจดีย์แบบเดียวกันท่วัดแม่นางปลื้ม เจดีย์องค์นี้มีลักษณะที่เป็นพิเศษกว่าเจดีย์อื่นตรงที่องค์ระฆังทำเป็นกลีบ บัวหงายขนาดใหญ่ ประดับอยู่รอบองค์พระระฆัง แต่บัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น
6. วิหาร ปัจจุบันเป็นเพียงเนินดินสูงประมาณ 1 เมตร สันนิษฐานว่าคงสร้างรุ่นเดียวกับอุโบสถหลังเดิม ภายในวิหารและอุโบสถหลังนี้ ทราบว่าปูด้วยกระเบื้องดินเผา 8 เหลี่ยม กว้าง 40เซนติเมตร หนา 5.3 เซนติเมตร เมื่อปูพื้นห้องมีกระเบื้องดินเผา 4 เหลี่ยมแทรกตรงกลางด้วย
นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ถูกจัดเป็นเขตสังฆาวาส มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา มีการปลูกสร้างกุฏิ และศาลาการเปรียญ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพระและใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาว บ้านบริเวณนั้น ปัจจุบันทางวัดได้ตบแต่งเขตพุทธาวาสใหม่โดยนำสีมาทาอุโบสถ ใบเสมาและพระพุทธรูปเสียใหม่ทำให้สภาพของโบราณสถานและโบราณวัตถุเปลี่ยนไป มองดูไม่เห็นความเก่าเหลืออยู่เลยนอกจากเจดีย์ประธาน
วัดอโยธยา (วัดเดิม) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2486 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 60 ตอนที่ 39 วันที่ 20
-----------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบจาก http://watayodhaya.com/index.php?url=tourreg
ตอบลบวัดอโยธยายินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญ ทางวัดมีที่พักสะดวกสบาย สามารถรองรับผู้มาพักได้จำนวน 100 คน ผู้ต้องการที่จะมาพักที่วัดอโยธยา กรุณากรอกแบบฟอร็มจองที่พักด้านล่าง
1. วัดอโยธยาเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพักได้ 1-3 คืน
2. ข้อควรปฏิบัติในการมาพักในวัด
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
-ไม่เล่นเสียงดัง
- ไม่นำสุรา ยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายมาในวัด
3. ผู้มาพักในวัดต้องมีเวลาสวดมนต์ ฟังธรรมร่วมกันอย่างน้อย 30 นาที
ขอบคุณข้อมูลตำบลหันตรา จาก http://www.thaitambon.com/tambon/140113
ตอบลบประวัติความเป็นมา
"หันตรา"เป็นชื่อทุ่งนาหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้ใช้ทุ่งนาหลวงแห่งนี้ ในการตั้งค่ายสู้รบกับทหารพม่าโดยโปรดให้พระยามหาเสนาถือพลหมื่นหนึ่งตั้งค่ายบ้านดอกไม้ป้อมท้องนาหันตราใส่เสื้อเขียวหมวกเขียว ศึกครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาเพลี่ยงพล้ำและเสียพระสุริโยทัย สมัยต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองแยกตำบล หมู่บ้าน ซึ่งตั้งชื่อเป็นตำบลหันตรามาจนถึงปัจจุบันนี้
พื้นที่
เป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองหันตรารับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อาชีพ
ค้าขาย รับจ้างและรับราชการตามลำดับ
สาธารณูปโภค
แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค
1. บ่อน้ำบาดาล 9 บ่อ
2. คลองหันตรา
3. คลองตามี
4. สำนักงานไฟฟ้าเขต 1
5. สถานีอนามัย 1 แห่ง
การเดินทาง
จากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางเข้าสู่อยุธยา ดังนี้
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าสู่ตำบลหันตรา
- ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3061 ถึงตำบลหันตราระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ผลิตภัณฑ์
ธูปหอม