วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

17.07.2560 Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/607/thailand/ayutthaya/wat-ratchaburana



Wat Ratchaburana (วัดราชบูรณะ) (built 15th century onward)

Wat Ratchaburana, the Temple of the Royal Restoration, was constructed in the 15th century by King Borom ratchathirat II (1424-48) as a memorial to his two elder brothers, who died in a power struggle following the reign of their father, King Intharatcha I (1409-24). The surviving brother, King Borom Ratchathirat II, was the seventh king of Ayutthaya.
In 1957 thieves broke into the crypt of the central tower (the prang) and plundered a great number of relics interred with the two brothers. Some of the treasures were later recovered and installed in the Chao Sam Phraya National Museum (located nearby). The following year the temple was excavated and restored. A staircase now descends into the crypt where visitors can see several colorful frescoes from the Ayutthaya period.
The design of the temple is derived from the Khmer prasat of earlier periods but is loftier with a higher base and a taller central tower. The architectural historian Clarence Aasen writes that the prang resembles an "attenuated corn-cob".

Location

The approximate location of the site is 14.358739' N, 100.567261' E (WGS 84 map datum).


 01.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.



02.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


03.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


04.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


05.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


06.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


07.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


08.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


09.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


10.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


11.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


12.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


13.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


14.Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


Wat Ratchaburana, Ayutthaya, Thailand.

Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/607/thailand/ayutthaya/wat-ratchaburana

---------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Wat_Ratchaburana,_Ayutthaya

Wat Ratchaburana, Ayutthaya

From Wikipedia, the free encyclopedia
Wat Ratchaburana
Wat ratchaburana.jpg
Wat Ratchaburana, Ayutthaya is located in Thailand
Wat Ratchaburana, Ayutthaya
Location in Thailand
Basic information
LocationAyutthayaAyutthaya Province
Geographic coordinates14°21′32″N100°34′4″ECoordinates14°21′32″N 100°34′4″E
AffiliationTheravada Buddhism
CountryThailand
Architectural description
FounderBorommarachathirat II
Completed1424
Wat Ratchaburana (Thaiวัดราชบูรณะ) is a Buddhist temple (wat) in the Ayutthaya Historical ParkAyutthayaThailand. The temple's main prang is one of the finest in the city. Located in the island section of Ayutthaya, Wat Ratchaburana is immediately north of Wat Mahathat.[1]

History[edit]

Wat Ratchaburana was founded in 1424 by King Borommarachathirat II of the Ayutthaya Kingdom and built on the cremation site of his two elder brothers. The two brothers had fought to their deaths in a duel for the royal succession to their father Intha Racha.[2]
In 1957 the temple's crypt was looted of a large number of Buddha images and gold artifacts. The thieves were later caught, but few of the treasures were recovered. Some that were recovered are now housed in the nearby Chao Sam Phraya Museum. Subsequent excavations of the crypt have uncovered many more rare Buddha images.[1][3]

Architecture and art[edit]


Central prang at Wat Ratchaburana

Garuda at Wat Ratchaburana
The temple's central prang has undergone restoration. Original stucco work can be seen, for example Garuda swooping down on nāga. Other mythical creatures as well as lotus are featured. Four Sri Lankan stupas surround the main prang.[1][3]
The prang's crypt, accessible by steep stairs, houses faded frescoes. These comprise some of the rare such examples from the early Ayutthaya period.[2] The crypt's Buddha images, now housed in the Chao Sam Phraya Museum, exhibit both Khmer and Sukhothai influences.[3]

References[edit]

  1. Jump up to:a b c Williams, China; Beales, Mark; Bewer, Tim (February 2012). Lonely Planet Thailand (14th ed.). Lonely Planet Publications. p. 162. ISBN 978-1-74179-714-5.
  2. Jump up to:a b Thailand (Eyewitness Travel Guides) (1st American ed.). DK Publishing, Inc. 1997. p. 166. ISBN 0-7894-1949-1.
  3. Jump up to:a b c Gray, Paul; Ridout, Lucy (1995). Thailand - The Rough Guide (2nd ed.). Rough Guides Limited. pp. 171–172. ISBN 1-85828-140-7.

-----------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดราชบูรณะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับวัดราชบูรณะแห่งอื่น ดูที่ วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
Wat Ratcha Bhurana.JPG
พระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวัดราชบูรณะ
ที่ตั้งเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุ
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โบราณสถาน
เวลาทำการเปิดทุกวัน
เวลา 08.30 - 16.30
จุดสนใจพระปรางค์ประธาน
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง
    
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย[1] จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967[2] วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ประวัติ[แก้]

วัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ในบริเวณพื้นที่และตำแหน่งเดิมที่พระองค์ได้ทรงถวายพระเพลิงศพให้กับเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ภายในหลังจากการกระทำยุทธหัตถี เพื่อแย่งชิงราชสมบัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราชพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. 1967
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนครอินทราธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ โปรดเกล้าให้พระราชโอรสของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาและเจ้าสามพระยา แยกย้ายกันปกครองหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงมอบหมายให้เจ้าอ้ายพระยา พระราชโอรสองค์ใหญ่ปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา พระราชโอรสองค์กลางปกครองเมืองแพรกศรีราชา และเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์เล็ก ปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก)
ในปี พ.ศ. 1967 สมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตโดยที่ยังมิได้สถาปนาพระมหาอุปราชผู้เป็นรัชทายาทครอบครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาทราบข่าวการสวรรคต จึงยกกองทัพเข้ากรุง เพื่อชิงราชสมบัติสืบแทนพระราชบิดา ทั้งสองพระองค์ยกทัพมาเวลาเดียวกันพอดี เจ้าอ้ายพระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดพลับพลาไชย ป่ามะพร้าว เจ้ายี่พระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดชัยภูมิ ป่ามะพร้าว แล้วทั้งสองพระองค์ก็เคลื่อนทัพเข้าสู้กัน บริเวณสะพานป่าถ่านในปัจจุบัน ทั้ง 2 พระองค์ทรงพระแสงของ้าวฟันต้องพระศอขาดพร้อมกันทำให้สวรรคตพร้อมๆกัน เจ้าสามพระยาซึ่งไม่ได้มาร่วมด้วย จึงเสด็จจากเมืองชัยนาท ขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยา แทนพระราชบิดาทันที มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 เมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราชทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหาร มีนามว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา

โบราณสถาน[แก้]


พระปรางค์ทองคำในกรุวัดราชบูรณะ
พระปรางค์วัดราชบูรณะมีกรุใหญ่และลึก กรมศิลปากรทำการขุดเรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2500 ในปัจจุบันเปิดให้เข้าไปชมกรุได้ตามปกติ กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะมีทั้งหมด 4 ห้องใหญ่ๆ เรียงกันลงไปแนวดิ่ง โดยชั้นล่างสุดอยู่ในแนวระดับพื้นดิน ดังนี้
กรุชั้นที่ 1
เป็นชั้นที่อยู่บนสุด เดิมมีผนังก่อปิดภาพทั้งหมด (ภาพคนจีน เทพชุมนุม ฯลฯ) หลังผนังทำเป็นช่องเล็กๆ ใส่พระพิมพ์ และ พระพุทธรูปไว้จนเต็ม และในนั้น คนร้ายพบพระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตัก 1 ศอก อยู่ 3-4 องค์
กรุชั้นที่ 2
เป็นชั้นกลาง มีถาดทองคำ 3 ใบเต็มไปด้วยเครื่องทอง กรมศิลปากรได้รื้อพื้นออก จึงทำให้กรุห้องที่ 2 และ 3 เชื่อมกัน มีจิตรกรรมเป็นภาพอดีตชาติพระพุทธเจ้า วาดอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม และ รอบๆมีโต๊ะสำริดเล็กๆตั้งอยู่ทุกซุ้มเว้นด้านใต้ ใช้วางเครื่องทอง และ ผ้าทองที่ขโมยให้การว่าแค่แตะก็ป่นเป็นผงแล้ว
กรุชั้นที่ 3
เป็นห้องที่อยู่ในสุด เป็นห้องที่สำคัญที่สุด บรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษาอย่างดีในเจดีย์ทองคำ และ รอบๆยังเต็มไปด้วยพระพุทธรูปต่างๆ

การลักลอบขุดกรุ[แก้]

การค้นพบกรุเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศ ปีถัดมาทำให้มีขโมยกลุ่มใหญ่ลักลอบมาขุดกรุวัดราชบูรณะ พบเครื่องทองและอัญมณีจำนวนมาก แต่ทว่าฝนตกหนักและรีบเร่งกลุ่มขโมยจึงขนของไปไม่หมด เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาไม่กี่วันก็จับและยึดของกลางได้บางส่วน หลังจากนั้นกรมศิลปากรได้เข้ามาขุด ปรากฏว่าพบสิ่งของกว่า 2000 รายการ พระพิมพ์กว่า แสนองค์ ทองคำหนักกว่า 100 กิโลกรัม ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เมื่อ พ.ศ. 2548 มีข่าวว่าพบพระมาลาทองคำอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงว่าเป็นของโบราณจริงหรือไม่ และหากจริง จะเป็นของกรุวัดราชบูรณะหรือไม่ ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงงกันอยู่ในปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]


------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://watboran.wordpress.com/category/วัดราชบูรณะ

วัดราชบูรณะ

22012007
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา
ภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธานเดียวกัน
วัดราชบูรณะ โด่งดังมากในเรื่องการขุดพบเครื่องทองมากมายในกรุพระปรางค์ใหญ่
และประชาชนยังสามารถลงไปชมภาพจิตรกรรมฝาฝนังสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในกรุได้ด้วย
วัดราชบูรณะจึงเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้าเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ

-วัดราชบูรณะ-
ประวัติ
วัดราชบูรณะปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
หรือ เจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ คือภายหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคต
พระราชโอรสองค์ใหญ่สองพระองค์ คือเจ้าอ้ายพระยา ทรงครองเมืองสุพรรณบุรี
และเจ้ายี่พระยาทรงครองเมืองสรรค์บุรี สองพระองค์เสด็จลงมาชิงพระราชสมบัติกันเอง
ต่างทรงช้างเคลื่อนผลมาปะทะกัน ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกัน
เจ้าสามพระยาทรงเป็นโอรสองค์ที่สาม เสด็จลงมาจากชัยนาทมาถึงภายหลัง จึงได้
เสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
เมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราช
ทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหาร
มีนามว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา
จุดที่น่าสนใจ
ปรางค์ประธาน มีขนาดสูงใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยม
ซึ่งมีเจดีย์อยู่ทั้งสี่ทิศ มีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ทางทิศตะวันออกถือเป็นปรางค์แบบไทย
ที่นิยมทำฐานสูง ต่างจากปรางค์แบบขอมที่มักมีฐานเตี้ย นอกจากนี้หน้าปรางค์เป็นมุขใหญ่
ยืนออกมาเป็นห้องคูหา ส่วนยอดเรียวแหลมสูง คล้ายฝักข้าวโพด ยอดมีฝักเพกาในขณะ
ที่ขอมไม่มี

-ภาพปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ มองจากช่องประตู-
กรุมหาสมบัติ สิ่งจะมี 2 ตอน คือตอนที่เป็นเรือนธาตุ และตอนกลางองค์พระปรางค์
กรุชั้นบนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 5 เมตร มีลักษณะเป็นกรุสี่เหสี่ยมจัตุรัส
ขนาดกว้างด้านละ 4 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้น มีภาพเทพชุมนุมลอยอยู่
บางองค์มีดอกไม้เป็นก้านชูออกไปข้างหน้า ลวดลายเครื่องประดับต่างๆมีลักษณะแบบศิลปะ
สุโขทัย และมีรูปกษัตริย์ หรือนักรบจีนองค์หนึ่งสวมชุดเขียวองค์หนึ่งสวมชุดขาว และอีกองค์
สวมชุดแดง ภาพแสดงเป็นเรื่องราว
กรุชั้นล่างอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2.20 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ
1.20เมตร สูง 2.65 เมตรฝาผนังกรุชั้นล่างเจาะลึกเข้าไปเป็นช่องคูหาทั้ง 4 ด้าน
เพดานเขียนลายดาวตรงกลางล้อมรอบด้วยลายและเขียนกรอบด้วยเส้นลวด
เขียนเป็นลายเส้นดอกไม้สีแดงปิดทองเป็นวงกลมๆ ผนังเหนือซุ้มคูหาแบ่งเป็น 4 ชั้น
ชั้นบนเขียนรูปพระพุทธรูปสลับกับสาวก ผนังซัมคูหา สันนิษฐานว่า เขียนภาพชาดก
ในพระพุทธศาสนานับได้ 60 ชาติ มีภาพพระโพธิสัตว์ในชาดกต่างๆนั้น มีภาพที่พอเห็นชัด
คือภาพโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น นก กวาง ช้าง กาเผือก คนขี่ม้า นกเขา สุนัข และหงส์
นอกนั้นเลือนลาง
ภายในห้องกรุชั้นนี้ เคยเป็นสถานที่เก็บสมบัติและของมีค่าไว้มากมาย อาทิ เช่น พระแสงขันธ์
มงกุฎ และมงกุฏราชินี เสื้อทองคำ และพระพุทธรูปต่างๆ พระแก้ว พระทองคำ พระนาก เป็นต้น
ซึ่งในปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งภายในวัดมหาธาตุ คนร้ายได้ลักลอบ
ขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะได้ของมีค่าจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงดำเนินการขุดกรุ
ในองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง พบเครื่องราชูโภคซึ่งทำด้วยทองคำ พระพิมพ์ส่วนหนึ่งนั้น
กรมศิลปากรได้เปิดให้ประชาชนเช่าไปบูชา เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เจ้าสามพระยา และนำสิ่งของที่ได้จากกรุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
การเดินทาง
หากเดินทางมาจากรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32)เลี้ยวซ้าย
ตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเศวร ตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ ๒
เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ แล้ว
วัดราชบูรณะจะอยู่ถัดออกไป
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลา
ประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
--------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ภาพ จาก fb;

1.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น