ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ (ระหว่างท้องที่หมู่ที่ 6, 9, 15) ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-25 เพื่อเป็นอโรคยาศาลสำหรับผู้ที่เดินมาประกอบพิธีกรรมที่ปราสาทเมืองต่ำ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากปราสาทเมืองต่ำ บางคนจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กุฏิฤๅษีเมืองต่ำ ปราสาทแห่งนี้อาจได้รับการปรับปรุงอีกครั้งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องจากพบชิ้นงานสถาปัตยกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมตัวอื่น ๆ
ลักษณะ
ปราสาทประกอบไปด้วยปรางค์ศิลาแลง ด้านหน้าทำเป็นมุขยื่นออกมา มีบรรณาลัยสร้างด้วยศิลาแลง ล้อมรอบด้วยกำแพง
ภาพกุฏิฤาษีบ้านโคก
- งานของตัว
Kuti Reussi #2 (Ban Khok Mueang), Thailand
- CC BY-SA 3.0
- File:13-Kuti Reussi -2 (Ban Khok Mueang)-001.jpg
- สร้าง: 1 มีนาคม 2009
--------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://www.biogang.net/ecotourism_view.php?uid=42059&id=126669
Ecotourism (สถานที่่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ)
กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง
รายละเอียด กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง จากกุฏิฤาษีบ้านหนองบัวรายลงมา
ทางใต้ในเขตบ้านโคกเมือง ไม่ไกลจากทะเลเมืองต่ำ มี
ปราสาทศิลาแลงขนาดเล็กที่เรียกว่ากุฏิฤาษีอีกแห่งหนึ่ง
เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 เชื่อว่าเป็นอโรคยา ศาล เช่นเดียวกับกุฏิฤาษีหนองบัวราย องค์ประกอบเป็นปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ย่อมุมด้านทิศตะวันออกเป็นมุขยื่นออกไปเป็นประตูทาง
เข้าออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นบรรณาลัยก่อด้วย
ศิลาแลงและหินทราย
ข้อมูลการติดต่อ http://www.biogang.net/
ข้อมูลอื่นที่ฉันรู้: เดินทางในฤดูฝนโดยรอบปราสาทจะเขียวขจีด้วยหญ้า และพันธุ์พืชมากมาย สวยงามมาก มีต้นไม้หลายหลาก
พันธุ์ ให้ชื้่นชม รอบๆ ข้างทาง
อธิบายการเดินทาง: เดินทางออกจากอำเภอประโคนชัยมาทางปราสาทพนมรุ้ง ก่อนถึงเขาปราสาทพนมรุ้งประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย ไปทางปราสาทเมืองต่ำ เข้าหมู่บ้านหนองบัวราย ถาม ชาวบ้าน เขารู้ทุกคน ไปถูกทางแน่นอน
สถานที่ตั้ง
ที่อยู่: หมู่บ้านโคกเมือง ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย ตำบล: ประโคนชัย อำเภอ: ประโคนชัย จังหวัด: บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์: 31140 เบอร์ติดต่อ: |
1.ประตูด้านหน้า
2.ดูระยะไกล
3.นักเรียนทัศนศึกษา
4.ด้านในกำแพงแก้ว
5.ประตูทางเข้า-ออก
6.สระน้ำด้านนอกกำแพงแก้ว
-----------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://www.edtguide.com/travel/77102/gu-ti-bann-kog-muang-hermit-prakonchai-amphoe
กุฎิฤาษีบ้านโคกเมืองGu-ti Bann Kog Muang Hermit (prakonchai Amphoe)
- ประเภทสถานที่ : แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม
- ที่อยู่ : อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
- เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาลสำหรับผู้ที่เดินทางมาประกอบพิธีกรรมที่ปราสาทเมืองต่ำ มีบรรณาลัยทรงสี่เหลี่ยมสร้างด้วยศิลาแลงอยู่ภายในกำแพงประดับด้วยหินสลักรูปนาค สันนิษฐานว่าได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัยหลังราวพุทธศตวรรษที่ 18
-----------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb: ธนาวุฒิ ศรีกิมแก้ว
1.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
2.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
----------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb:Wisanu Wichian
1.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
2.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
3.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
4.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
(อ่านได้ความดังนี้)
กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง
Kuti Rishi Ban Khok Mueang
ศิลาจารึกที่พบที่ปราสาทตาพรหมกล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งประเทศกัมพูชา (พ.ศ.1724 - 1762) ทรงโปรดให้สร้าง "อโรคยาศาล" ขึ้น โดยรอบอาณาจักรของพระองค์จำนวน 102 แห่ง สันนิษฐานว่า ปราสาทขนาดเล็กหลายแห่งในภาคอีสานของประเทศไทยที่สร้างด้วยศิลาแลง โดยมีกำแพงล้อมรอบซึ่งมักเรียกกันว่า "กุฏิฤาษี" นั้น น่าจะเป็นศาสนสถานประจำโรงสถานพยาบาล หรือ "อโรคยาศาล" ดังกล่าว ส่วนตัวสถานพยาบาลที่แท้จริงนั้นคงจะสร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ชำรุดหักพังไปแล้ว ณ.ศาสนสถานประจำสถานพยาบาลหลางแห่ง ได้พบศิลาจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลายหลัก ทั้งหมดล้วนจารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต มีข้อความเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลคล้ายคลึงกัน ศิลาจารึกเหล่านี้ต่อมาเรียกกันว่า "จารึกโรงพยาบาล" ได้แก่ศิลาจารึกที่พบในประเทศกัมพูชา 17 หลัก พบในประเทศไทย 4 หลัก คือ จารึกปราสาทตาเมือนโต๊ด จารึกปราสาท จารึกด่านประคำ และ จารึกเมืองพิมาย.
-------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb: พาเลาะ
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์.
--------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb: ธนาวุฒิ ศรีกิมแก้ว
1.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
2.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
----------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb:Wisanu Wichian
1.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
2.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
3.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
4.กุฎิฤาษีบ้านโคกเมือง
(อ่านได้ความดังนี้)
กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง
Kuti Rishi Ban Khok Mueang
ศิลาจารึกที่พบที่ปราสาทตาพรหมกล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งประเทศกัมพูชา (พ.ศ.1724 - 1762) ทรงโปรดให้สร้าง "อโรคยาศาล" ขึ้น โดยรอบอาณาจักรของพระองค์จำนวน 102 แห่ง สันนิษฐานว่า ปราสาทขนาดเล็กหลายแห่งในภาคอีสานของประเทศไทยที่สร้างด้วยศิลาแลง โดยมีกำแพงล้อมรอบซึ่งมักเรียกกันว่า "กุฏิฤาษี" นั้น น่าจะเป็นศาสนสถานประจำโรงสถานพยาบาล หรือ "อโรคยาศาล" ดังกล่าว ส่วนตัวสถานพยาบาลที่แท้จริงนั้นคงจะสร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ชำรุดหักพังไปแล้ว ณ.ศาสนสถานประจำสถานพยาบาลหลางแห่ง ได้พบศิลาจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลายหลัก ทั้งหมดล้วนจารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต มีข้อความเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลคล้ายคลึงกัน ศิลาจารึกเหล่านี้ต่อมาเรียกกันว่า "จารึกโรงพยาบาล" ได้แก่ศิลาจารึกที่พบในประเทศกัมพูชา 17 หลัก พบในประเทศไทย 4 หลัก คือ จารึกปราสาทตาเมือนโต๊ด จารึกปราสาท จารึกด่านประคำ และ จารึกเมืองพิมาย.
-------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ จาก fb: พาเลาะ
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์.
--------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น