วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

19.07.2560 Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand. ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/608/thailand/bangkok/lak-muang-city-pillar


Lak Muang City Pillar (หลักเมือง) (built 1782)

This is the pillar that was set up by the king in 1782 when Bangkok became the capital of Siam. The pillar houses the spirit of the city and there are a stream of worshippers there offering flower, incense, fruit, candles, burning oil, etc. Some even pay the resident dancers to perform as a form of thanks when they have good luck.

Location

The approximate location of the site is 13.752846' N, 100.494209' E (WGS 84 map datum).

 01.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมือง. The City Pillar Shrine.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

 02.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 03.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 04.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 05.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 06.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 07.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 08.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 09.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 10.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 11.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


 12.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


13.Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.


Lak Muang City Pillar, Bangkok, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/608/thailand/bangkok/lak-muang-city-pillar

-----------------------------------------------------

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Lak_Mueang


Lak Mueang

From Wikipedia, the free encyclopedia

Inside the Bangkok city pillar shrine. The taller pillar is Rama I's original, the shorter was added by King Mongkut(Rama IV)
Lak mueang (Thaiหลักเมือง) are city pillars found in most cities of Thailand. Usually housed in a shrine (Thaiศาลหลักเมือง) which is also believed to house Chao Pho Lak Mueang (เจ้าพ่อหลักเมือง), the city spirit deity. It was constructed because the continuation of ancient traditions and Brahman's customs believed that it has something to do with the Held, the single city pillar ceremony (Held “Lak Muang”) which is made of an Acacia wood Chaiyaphreuk (Thaiชัยพฤกษ์) before the construction of the city for a major goal to build a city and to be the centre of soul for the citizens.
It was probably King Rama I who erected the first city pillar on 21 April 1782, when he moved his capital from Thonburi to Bangkok. The shrine was the first building in his new capital, the palace and other buildings being constructed later.

Outside Bangkok[edit]

Shortly after the shrine in Bangkok, similar shrines were built in strategic provinces to symbolise central power, such as in Songkhla. More shrines were created during the reign of King Buddha Loetla Nabhalai (Rama II) in Nakhon Khuen Khan and Samut Prakan, and by King Nangklao(Rama III) in ChachoengsaoChanthaburi, and Phra Tabong Province (now in Cambodia). However, after King Mongkut raised a new pillar in Bangkok, no further shrines in the provinces were built until 1944, when then-Prime Minister of Thailand Phibunsongkhram built a city pillar in Phetchabun, as he intended to move the capital to this town. Though this plan failed to get approval by the parliament, the idea of city pillars caught on, and in the following years several provincial towns built new shrines. In 1992, the Ministry of Interior ordered that every province should have such a shrine. As of 2010, however, a few provinces still have no city pillar shrine. In Chonburi the shrine was scheduled to be finished by the end of 2011.[1][2]
The building style of the shrines varies. Especially in provinces with a significant Thai Chinese influence, the city pillar may be housed in a shrine that resembles a Chinese temple as, for example in SongkhlaSamut Prakan, and YasothonChiang Rai's city pillar is not housed in a shrine at all; but, since 1988, is in an open place inside Wat Phra That Doi Chom Thong; it is called the sadue mueang (Thaiสะดือเมือง), navel or omphalos of the city. In Roi Et, the city pillar is housed in a sala(open-air pavilion) on an island in the lake in the centre of the city.

The Bangkok city pillar shrine[edit]


Shrine housing the Bangkok city pillar

Inthakin Shrine inside the Wat Chedi Luang, Chiang Mai
Bangkok's city pillar shrine (also known as san lak muang) is one of the most ancient, sacred, and magnificent city pillar shrines in Thailand. It was believed that people would achieve prosperity and fulfillment in their work and career, avoid misfortune, and improve their luck, power, and prestige if they took a bow and paid their respects at this sacred place. The shrine is in the heart of Bangkok, opposite the grand palace in the southeast corner of the Sanam Luang and close to the Ministry of Defence. According to a historian, the shrine was built after the establishment of the Rattanakosin Kingdom (Bangkok) to replace the old capital of the Thonburi Kingdom during the reign of King Rama I of the Chakri Dynasty at 06:45, Sunday, 21 April 1782. It was constructed according to ancient traditions such as the brahmans' belief in the held, the single city pillar ceremony (held "lak muang"), in which a pillar of acacia wood (chaiyapreuk) was erected before the effort of constructing the city began. It was intended to be the spiritual centre for Thai citizens.[citation needed]
"Chaiyapreuk" (acacia) means "tree of victory". This wood was used by Thai locals to build a pillar 270 centimetres (110 in) high, buried 200 centimetres (79 in) deep, making a total height of 470 centimetres (190 in), and 74 centimetres (29 in) in diameter. Inside was a horoscope for Bangkok. However, the shrine was renovated several times during the reigns of Kings Rama IV and Mongkut, and then became dilapidated. The king therefore ordered the excavation of the old pillar and construction of a replacement, with a new horoscope for the city placed inside. In 1852 the new pillar was installed, measuring 5.115 metres (201.4 in) tall, 47 centimetres (18.8 in) in diameter at the bottom, with a base 180 centimetres (71 in) wide. Both old and new pillars were moved to a refurbished pavilion with a spire (prang) modelled on the shrine of Ayudhya. The shrine was finished on Sunday, 1 May 1853. In 1980, in preparation for the celebration of the 200th anniversary of Rattanakosin in 1982, the Bangkok city pillar shrine underwent renovation, including the addition of arches to house a five-city guardian deity.[citation needed]
According to the In–Chan–Mun–Kong legend of the shrine, Thai locals believed that the construction of the shrine required the sacrifice of four people after the proclamation of the words "in–chan–mun–kong" all over the city ("in" from the north, "chan"from the south, "mun" from the east, and "kong" from the west). Anyone who responded was captured, brought to the ceremonial location, and buried in a hole. Their spirits would guard and protect the city. This is only a myth and is not recorded in the chronicles.[citation needed]
People usually use three incense sticks, one candle, gold foil, two lotuses, two flower garlands, and one three-colour taffeta to worship at the shrine.

Gallery[edit]

See also

----------------------------------------------------

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
Bangkok City Pillar Shrine
City pillar shrine, Bangkok.jpg
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทศาลหลักเมือง
ที่ตั้งถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
การก่อสร้าง
ปีสร้าง21 เมษายน พ.ศ. 2325[1]
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (วางเฉพาะเสา)
ปีบูรณะพ.ศ. 2395[2]
พ.ศ. 2525 - 2529
ผู้บูรณะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(วางเสาใหม่อีกต้น)
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมขอม
สถาปัตยกรรมไทย
ผู้ออกแบบ/ตกแต่ง
สถาปนิกพล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น (ศาลาทรงขอมตามภาพ)[3]
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่น่าสนใจเป็นสถานที่ที่ก่อตั้งควบคู่กับการสถาปนานากรุงรัตนโกสินทร์

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
จุดสำคัญของศาลหลักเมืองคือ เสาหลักเมือง ซึ่งได้กระทำพิธียกเสาขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เดิมทีเสาหลักเมือง มีเพียงศาลาปลูกไว้กลางแดดกันฝนเท่านั้น จนชำรุดลงอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯให้ทำขึ้นใหม่อีกเสาหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครมีเสาหลักเมือง 2 ต้น นับจากนั้นเป็นต้นมา
สำหรับศาลาศาลหลักเมืองหลังปัจจุบันนี้ มีรูปแบบเป็นอาคารเครื่องปูน ทรงยอดปรางค์ มีมุขยื่นทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีหลังคาซ้อน 2 ชั้น และมีมุขลดอีกด้านละ 1 ชั้น มีหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องมุงประดับกระเบื้องเคลือบ ตามลักษณะสถาปัตยกรรมอยุธยาในอดีต ได้รับการออกแบบโดย พล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ในเวลาต่อมา) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชวินิจฉัยในงานออกแบบครั้งนี้ด้วย[4][3]

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2395
ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

อ้างอิง[แก้]


--------------------------------------------------



ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://thaprajan.blogspot.com/2011/04/blog-post.html


วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554


เหตุใด 'เสาหลักเมือง' กรุงเทพมหานคร จึงมีสองต้น ?

ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีนั้น พระองค์โปรดฯ ให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและประชาชน  พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06:54 น.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
(ภาพวาดฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6)
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชดำริว่าหลักเมืองชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สง่างาม จึงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ อีกทั้งทรงตรวจดวงพระชะตาของพระองค์ ทราบว่าเป็นอริแก่ลัคนาดวงเมืองกรุงเทพฯ จึงทรงแก้เคล็ดโดยให้ช่างแปลงรูปทรงศาลหลักเมืองจากเดิมที่มีลักษณะเป็นศาลาและมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ให้เป็นอาคารจตุรมุขทรงประสาทยอดปรางค์ ก่ออิฐถือปูน ฉาบสีขาว  โปรดฯ ให้ถอนเสาหลักเมืองเดิมและประดิษฐานเสาหลักเมืองใหม่ พร้อมผูกดวงเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล มีอุดมมงคลฤกษ์ ณ วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2395

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
การฝังเสาหลักเมืองเมื่อครั้งรัชกาลที่ 1 นั้น ได้เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น คือเมื่อถึงมหาพิชัยฤกษ์อัญเชิญเสาลงสู่หลุม ปรากฏว่ามีงูเล็ก 4 ตัวเลื้อยลงหลุมในขณะเคลื่อนเสา จึงจำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลย โดยปล่อยเสาลงหลุมและกลบงูทั้ง 4 ตัวตายอยู่ภายในก้นหลุม  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ พระโหราจารย์ถวายคำทำนายว่า ชะตาเมืองจะอยู่ในเกณฑ์ร้ายนับจากวันยกเสาหลักเมืองเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน จึงสิ้นพระเคราะห์ และพระนครแห่งนี้ จักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไปเป็นเวลา 150 ปี

ชะตาแผ่นดินที่ร้ายถึงเจ็ดปีเศษนั้น เป็นช่วงเวลาที่ไทยติดพันศึกพม่าในสงครามเก้าทัพ ซึ่งสิ้นสุดลงหลังครบห้วงเวลาดังกล่าว


ส่วนคำทำนายว่าจักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไป 150 ปีนั้น ไปครบเอาปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินพอดี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชสมภพในปีมะเส็ง (งูเล็ก) พ.ศ. 2436 จะทรงกังวลพระทัยในคำทำนายดังกล่าวหรือไม่ประการใด มิอาจทราบได้ แต่ทรงสร้างสาธารณูปโภคมากมาย รวมถึงชักชวนเจ้านายที่ประสูติในปีมะเส็งด้วยกันสร้างสิ่งสาธารณะเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน นัยว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์

ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นอนุสรณ์ในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปีในปี พ.ศ. 2475  คำทำนายเรื่องสิ้นแผ่นดินจึงได้รับการ "แก้เคล็ด" โดยเกิดเป็นแผ่นดินใหม่ที่เชื่อมพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน

พระบรมวงศานุวงศ์อีก 4 พระองค์ที่ประสูติปีเดียวกันในปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ  และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินบริจาคของพระญาติมิตรสหาย สร้าง "ตึกสี่มะเสง" ให้แก่สภากาชาดสยามเมื่อปี พ.ศ. 2472 ปัจจุบันอาคารดังกล่าวถูกรื้อถอนไปแล้วเพราะชำรุดทรุดโทรมจากอายุการใช้งานอันยาวนาน  สภากาชาดไทยได้สร้างอาคารหลังใหม่ในบริเวณเดิม แต่ยังคงใช้ชื่ออาคารว่า "ตึกสี่มะเสง" เพื่อหวนรำลึกถึงพระเมตตาของทั้งสี่พระองค์

การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินโดยคณะราษฎรในปี พ.ศ. 2475 นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ประสูติปีนักษัตรเดียวกันคือปีมะเส็ง ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นิมิตงูเล็กในเสาหลักเมืองจึงออกจะเป็นเรื่องอัศจรรย์

กรณีคำทำนายการดำรงวงศ์กษัตริย์เป็นเวลา 150 ปี ไม่เป็นไปตามคำทำนาย เพียงเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข กรณีนี้ คงเป็นด้วยการสะเดาะเคราะห์ผ่อนหนักให้เป็นเบา และคงเนื่องด้วยพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงแก้อาถรรพณ์ถอนเสาหลักเมืองและวางดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่

หลักเมือง กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 200 ปีในปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยรื้ออาคารศาลหลักเมืองหลังเดิมที่สร้างมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วสร้างอาคารศาลหลักเมืองหลังใหม่ขึ้นโดยยึดเอารูปแบบเดิมไว้ และได้นำเสาหลักเมืองต้นเดิมที่มีมาแต่เริ่มสร้างกรุงเทพฯ มาประดิษฐานคู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ เสาหลักเมืองที่ประดิษฐานภายในอาคารศาลหลักเมืองจึงมีสองต้น เสาต้นเดิมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้ จึงคงไว้  แกนในเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้จันทน์ประกับนอก ลงรักปิดทอง ยอดของเสาทำเป็นดอกบัวตูม ที่โคนเสามีฐานบัวรองรับ ภายในกลวงสำหรับบรรจุชะตาพระนคร  ดวงนี้อยู่ใจกลางยันต์สุริยาทรงกลด จารึกในแผ่นทอง เงิน นาก

ส่วนเสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คือต้นที่มีส่วนสูงทอนลงมา  แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประกับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์  ปิดทองประดับกระจก มีฐานบัวหกเหลี่ยมและฐานสิงห์ประดับกระจกรองรับที่โคนเสา เป็นต้นที่สถิตประทับของพระหลักเมือง

มีเรื่องเล่ากันมากเกี่ยวกับการฝังหลักเมืองว่ามีการฝังคนทั้งเป็น เช่น ในหนังสือประวัติจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวถึงการฝังหลักเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า

"เมื่อท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระยาถลาง (ทองพูน) ได้เป็นเจ้าเมืองถลาง  ได้จัดหาสถานที่เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น และได้ตกลงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลางในปัจจุบันนี้ โดยเรียกว่า "บ้านเมืองใหม่"  เมื่อจัดหาที่ได้แล้ว จึงได้ประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อฝังหลักเมืองโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์รวม 32 รูป เจริญพระพุทธมนต์อยู่ 7 วัน 7 คืน แล้วจึงให้อำเภอทนายป่าวร้องหาตัวผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง ผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมืองได้ต้องเป็นคนที่เรียกกันว่าสี่หูสี่ตา (คือคนที่ตั้งครรภ์นั่นเอง)  การป่าวร้องหาตัวแม่หลักเมืองนี้ ได้ประกาศป่าวร้องเรื่อยไปตลอดทุกหมู่บ้านว่า โอ้เจ้ามั่น โอ้เจ้าคง อยู่ที่ไหนมา ไปประจำที่  ในที่สุดจึงได้ผู้หญิงชื่อนางนาคท้องแก่ประมาณแปดเดือนแล้ว นางนาคได้ขานตอบขึ้น 3 ครั้ง แล้วได้ติดตามผู้ประกาศไป  ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เมื่อไปถึงหลุมที่จะฝังหลักเมือง นางนาคก็กระโดดลงไปในหลุมนั้นทันที ฝาหลุมก็เลื่อนปิด เจ้าพนักงานก็กลบหลุมฝังหลักเป็นอันเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง"

สำหรับการฝังหลักเมืองกรุงเทพฯ นี้ เชื่อว่าไม่มีการนำคนทั้งเป็นมาฝัง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ทรงยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และไม่ทรงโปรดให้พลีกรรมด้วยการฆ่าสัตว์

เทพารักษ์สำคัญห้าองค์ คุ้มครองรักษาพระนคร
เป็นองค์เดิมที่สร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 

ต่อมา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ได้มีการปรับปรุงพระนครครั้งใหญ่ มีการสร้างสถานที่ราชการ และขยายถนนเพิ่มขึ้น
จึงย้ายเทพารักษ์ทั้งห้าองค์ จากที่ประดิษฐานเดิม มาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมือง
ภายในบริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ มีศาลเทพารักษ์อันเป็นที่ประดิษฐานของพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง  เป็นเทพารักษ์สำคัญ 5 องค์ ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระนครและประเทศชาติ พระมหากษัตริย์และประชาชนให้ความเคารพนับถือมาแต่โบราณกาลว่า สามารถอำนวยความสุขสวัสดี พิพัฒนมงคล ป้องกันภัยพาลพิบัติอุปัทวทุกข์ทุกประการแก่ผู้เคารพบูชาได้
พระเสื้อเมือง เป็นรูปเทวดาสวมมงกุฏ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 93 เซนติเมตร พระหัตถ์ซ้ายถือคทา (ตะบอง) พระหัตถ์ขวาทรงจักร มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง ลักษณะคล้ายพระเสื้อเมือง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 88 เซนติเมตร พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวายกชูขึ้นถือสังข์หลั่งน้ำเทพมนตร์ มีหน้าที่รักษาการปกครอง กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

พระกาฬไชยศรี เป็นรูปพระกาฬประทับอยู่บนหลังนกแสก สันนิษฐานว่าจะมาแต่อุมาปางหนึ่งซึ่งพวกฮินดูนิยมทำรูปไว้บูชา เรียกว่า "กาลี"  พระกาฬเป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

เจ้าเจตคุปต์ เป็นเทพารักษ์แกะสลักด้วยไม้ เดิมมีศาลเล็ก ๆ อยู่ใกล้คุก ชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนเป็น เจ้าเจตคุก เป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอต่อพระยม

เจ้าหอกลอง  เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง มีหน้าที่แจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เช่น เมื่อเกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร และคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ เที่ยงคืน
เจ้าหอกลองนี้ เดิมอยู่ที่ศาลใกล้หอกลองในสวนเจ้าเชต หอกลองนี้ถูกรื้อทิ้งไปในสมัยรัชกาลที่ 5  แต่เดิมในหอกลองมีกลองอยู่ 3 ใบ ใบแรกชื่อ ย่ำพระสุริย์ศรี ใช้ตีบอกเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน  ใบที่สองมีชื่อเรียกว่า อัคคีพินาศ ใช้ตีเวลาเกิดเพลิงไหม้  และใบที่สามมีชื่อว่า พิฆาตไพรี ใช้ตีเวลามีศึกสงครามบอกเหตุเรียกระดมพล

จุดเติมน้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิด
ใส่บาตร พระประจำวันเกิด
พระเสี่ยงทาย
พร้อมคำอธิบายวิธีอธิษฐานยกองค์พระเสี่ยงทายความสำเร็จ
ภายในบริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร นอกจากอาคารศาลหลักเมืองและศาลเทพารักษ์ ยังมีหอประดิษฐานพระพุทธรูปและพระบรมสารีริกธาตุ 


ศาลหลักเมืองจึงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นที่ชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่งทางใจ ในแต่ละวัน จะมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาเคารพสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล




คำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมือง เทวานัง พระภูมิ เทวานัง
ทีปะธูปะจะปุบผัง สักการะ วันทะนัง
สูปะพยัญชนะ สัมปันนัง โภชะนานัง สารีนัง อุททะกังวะรัง
เตปิตุมะเห อานุรักษ์ขันตุ 
อาโรขะเยนะ สุเขนะจะ ฯ

ข้าพเจ้า... ขอถวายเครื่องสังเวยและสิ่งต่าง ๆ แด่องค์พระหลักเมือง
ขอองค์พระหลักเมือง จงรับเครื่องสังเวย และสิ่งต่าง ๆ ของข้าพเจ้า
ขอบารมีองค์พระหลักเมือง และเทพเทพารักษ์ ที่สถิตอยู่ ณ ที่นี้
จงบันดาลให้ข้าพเจ้า ทำการสิ่งใดได้สำเร็จ
สมปณิธานที่ปรารถนาทุกประการ
ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บริวาร ตลอดจนญาติสนิทมิตรสหาย
จงแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง
ปราศจากโรคาพยาธิ
และจงมีแต่ความสุขความเจริญ ตลอดกาลนานเทอญ
ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://thaprajan.blogspot.com/2011/04/blog-post.html

---------------------------------------------------------------------------------------------------




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น