วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1118/thailand/ayutthaya/wat-phraya-maen
Wat Phu Khao Thong (วัดภูเขาทอง) (late 14th century to mid 15th centuries)
Wat Phu Khao Thong is situated in a field called 'Thung Phu Khao Thong', meaning 'Golden Mountain'. It is situated several kilometers northwest of Ayutthaya. The main monuments ishuge stupa with a Mon-style square base, established in the late 14th century by King Naresuan to commemorate his victory over the Burmese at this location. The site was abandoned after his reign, but a chedi was added on top of the base by King Prasat Thong sixty years later, accounting for the enormous height of the monument.
Location
The approximate location of the site is 14.368934' N, 100.539749' E (WGS 84 map datum).
01.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
02.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
03.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
04.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
05.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
06.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
07.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
08.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
09.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
10.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
11.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
12.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
13.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
14.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
15.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
16.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
17.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
18.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
19.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
20.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
21.Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1118/thailand/ayutthaya/wat-phraya-maen
--------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Chedi_Phukhao_Thong
Chedi Phukhao Thong
From Wikipedia, the free encyclopedia
Chedi Phukhao Thong Thai: เจดีย์ภูเขาทอง is a 50-metre [1] chedi, or Buddhist tower, in the village of Phukhao Thong near Ayutthaya in central Thailand. Visitors can climb as far a landing halfway up the chedi, from which the surrounding rice fields and the town of Ayutthaya can be seen. In 2014 it was possible for the public to visit the shrine inside the central tower.
History[edit]
In 1569, having taken Ayutthaya, King Bayinnaung of Hongsawadi (now part of Myanmar) built a large chedi in the Mon style, next to the Buddhist temple of Wat Phukhao Thong, to commemorate his victory. Over the next two centuries the chedi fell into disrepair. In a restoration during the reign of King Boromakot (ruled 1733–1758) a new chedi in Thai style, having a square plan with indented corners, was built on the base of the ruin. [2] The adjacent temple, founded by King Ramesuan in 1387, is still in use.
References[edit]
- ^ Gray P, Ridout L, Thailand: The Rough Guide, 3rd edition, Rough Guides Limited, 1998, ISBN 1-85828-341-8
- ^ Information panels in the grounds of Wat Phukhao Thong, written by Thai Fine Arts Department, transcribed 2008
-----------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดภูเขาทอง
วัดภูเขาทอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับวัดภูเขาทอง สำหรับภูเขาทองในความหมายอื่น ดูที่ ภูเขาทอง
วัดภูเขาทอง | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อ | วัดภูเขาทอง |
ที่ตั้ง | 153 หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 |
ประเภท | วัดมีพระภิกษุจำพรรษา, โบราณสถาน |
เจ้าอาวาส | พระครูใบฎีกาประเทือง กิตฺติปญฺโญ |
เวลาทำการ | 9:00 - 14.00 |
จุดสนใจ | พระเจดีย์ภูเขาทอง |
วัดภูเขาทอง เป็นวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. 1930 มีเจดีย์ใหญ่ที่ชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทอง[1]
เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา สามารถเห็นได้แต่ไกล เมื่อปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ เปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น ส่วนฐานนั้นเป็นศิลปะมอญอยู่
กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ร่วมกับ กรมศิลปากรจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงม้าไว้บริเวณด้านหน้าวัดภูเขาทอง ในบริเวณใกล้เคียงกันกับพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยที่กรมโยธาธิการฯ ได้สร้างไว้ก่อนหน้า เชื่อกันว่าบริเวณนี้เดิมเป็นทุ่งโล่งที่มีการตั้งทัพข้าศึก และเกิดการทำการยุทธหัตถีในหลายครั้งหลายสมัย
ดูเพิ่ม[แก้ไขต้นฉบับ]
อ้างอิง[แก้ไขต้นฉบับ]
- วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไขต้นฉบับ]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya |
- เว็บไซต์วัดภูเขาทอง
- ภาพพาโนรามา 360 องศา พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- ภาพพาโนรามา 360 องศา เจดีย์ภูเขาทอง
-----------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.phukhaothong.com/index.php?mo=3&art=42165554
(ภาพประกอบโดย @LemonJoont www.fb.me/luckyjoont )
เจดีย์ภูเขาทอง เป็นมหาเจดีย์สำคัญ ตั้งอยู่นอกเกาะกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้
เจดีย์ภูเขาทอง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ น่าจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นมหาเจดีย์สูงเด่นในระหว่างรัชสมัยพระมหาธรรมราชา ถึงสมัยพระเพทราชา (ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๑๒ - ๒๒๔๖) และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ นั่นคือ มีฐานทักษิณ ๔ ชั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมีความยาวแต่ละชั้นดังนี้
ชั้นพื้น ยาวด้านละ | ๖๙ เมตร |
ชั้นที่ ๒ ยาวด้านละ | ๖๓ เมตร |
ชั้นที่ ๓ ยาวด้านละ | ๔๙.๔ เมตร |
ชั้นที่ ๔ ยาวด้านละ | ๓๒.๔ เมตร |
ทั้ง ๔ ด้าน มีบันไดขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด บนชั้นนี้มีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ สูงขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆัง บัลลังก์
ส่วนเหนือขึ้นไปที่เป็นปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้วนั้น ของเดิมได้พังไปแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในครั้งนั้น ได้ทำลูกแก้วด้วยทองคำหนัก ๒,๕๐๐ กรัม อันหมายถึงการบูรณะในวาระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษของไทยนั่นเอง และในปัจจุันกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่โดยทาสีขาวทั้งองค์
-----------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.phukhaothong.com/index.php?mo=3&art=42165552
ประวัติวัดภูเขาทอง
วัดภูเขาทอง และ เจดีย์ภูเขาทอง ปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับด้วยกันทั้งที่เป็นเอกสารไทยและเอกสารต่างประเทศได้แก่
พงศาวดารเหนือ กล่าวถึงการสร้างวัดภูเขาทองไว้ในเรื่องพระนเรศวรหงสา เริ่มลำดับศักราชจาก จ.ศ. ๒๒๐ (พ.ศ. ๑๔๐๑) กล่าวถึง พระเจ้าอโนธรามังช่อ เจ้าเมืองสะเทิม ยกทัพไปตีเมืองละโว้ที่ปกครองโดยพระเจ้าจันทโชติ ที่สุดพระเจ้าจันทโชติเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงถวายพระพี่นางให้กับพระเจ้าอโนธรามังช่อ ต่อมามีพระโอรสชื่อพระนเรศวร ฝ่ายพระเจ้าจันทโชติมีพระโอรสวัยใกล้เคียงกันชื่อพระนารายณ์ กาลต่อมาทั้งสองพระองค์เกิดผิดใจกัน พระนเรศวรหงสาได้ยกพยุหแสนยากร ๔๐ แสน มาล้อมกรุงอโยธยา แล้วท้าให้สร้างวัดพนันกันคนละวัด ถ้าไทยแพ้ก็จะเข้าครองเมือง เพราะเชื่อมั่นฝีมือของมอญในการสร้างวัดว่าคงไม่มีใครสู้ได้ พระนเรศวรแห่งเมืองสะเทิมสร้างวัดภูเขาทองทางทิศพายัพ พระนารายณ์ฝ่ายไทยสร้างวัดใหญ่ชัยมงคลทางทิศหรดี (คือวัดไชยวัฒนาราม) เมื่อสร้างไปนาน ไทยเห็นท่าทีจะแพ้จึงคิดกลอุบายเอาผ้าขาวคาด ฝ่ายมอญเมื่อเห็นดังนั้นเกรงว่าจะแพ้ จึงยกทัพกลับไป
พระราชพงศาวดาร พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่กล่าวถึงวัดภูเขาทองไว้ได้แก่พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวรว่า “...ศักราช ๗๔๙ ปีเถาะ นพศก (พ.ศ. ๑๙๓๐) สถาปนาวัดภูเขาทอง...” ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า “...ฝ่ายพระมหานาคอยู่วัดภูเขาทอง สึกออกมารับอาสาตั้งค่ายกันทัพเรือ ตั้งค่ายตั้งแต่วัดภูเขาทอง ลงมาจนวัดป่าพลู พรรคพวกสมกำลังญาติโยมทาสชายทาสหญิงของมหานาคช่วยกันขุดคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึงเรียกว่าคลองมหานาค...” แต่ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศมีข้อความที่ไม่ตรงกัน กล่าวคือ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า “...ในปีนี้ (พ.ศ. ๒๒๘๗) ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ พระอารามวัดภูเขาทอง สิบเดือนจึงสำเร็จ...” ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ กล่าวว่าใช้เวลา ๖ เดือนจึงแล้วเสร็จ
หนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า กล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) เป็นผู้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ อันเป็นปีที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่ข้าศึก ความในคำให้การของชาวกรุงเก่าเขียนไว้ดังนี้ “... ในเวลาเมื่อพระเจ้าหงสาวดียังประทับอยู่ในพระนครศรีอยุธยานั้น ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ที่ ตำบลทุ่งภูเขาทอง ขนานนามพระเจดีย์นั้นว่า เจดีย์ภูเขาทอง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้...”
คำให้การของขุนหลวงหาวัด บรรยายว่า “... แล้วพระเจ้าหงสาจึ่งสร้างพระเจดีย์ไว้ที่ทุ่งภูเขาทอง จึ่งสมมตินามเรียก พระภูเขาทอง แล้วจึ่งทำการฉลองเป็นการใหญ่หนักหนาแล้วพระเจ้าหงสาจึ่งยกทัพกลับไป...”
บันทึกเรื่อง The History of Japan Together with a Description of the Kingdom of Siam ของหมอแกมป์เฟอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคณะทูตของเนเธอร์แลนด์ ที่เดินทางไปยังญี่ปุ่น ได้แวะเข้ามาพัก ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๒๓ วัน ระหว่างวันที่ ๑๒ มิถุนายน ถึงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๓ ได้เขียนจดหมายเหตุพร้อมวาดภาพเจดีย์ภูเขาทอง และอธิบายความในฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษมีว่า “... It was built by the Siamites in remembrance of a great victory obtain’d in that space over the King of Pegu, whom they kill’d and defeated his numerous Army, thereby freeing themselves of the subjection they were under to the Peguans, and restoring their ancient Liberty…” ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาไทยว่า “... ชาวสยามได้สร้างพระเจดีย์องค์นี้เป็นที่ระลึก ณ ที่ซึ่งมีชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่เหนือกษัตริย์แห่งพะโค ผู้ซึ่งถูกปลงพระชนม์และกองทัพใหญ่ของพระองค์ถูกทำลายลงเป็นผลให้พวกเขาพ้นจากอำนาจการปกครองของชาวพะโค และบูรณาการอิสรภาพของตนเช่นเดิม...”
นิราศภูเขาทอง เป็นเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ที่กล่าวถึงวัดภูเขาทอง ประพันธ์โดยสุนทรภู่เมื่อเดินทางมานมัสการวัดภูเขาทอง เมื่อปีขาล เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๗๓ นิราศภูเขาทอง บรรยายภาพพระเจดีย์ไว้ดังนี้
“ครั้นรุ่งเช้าเข้าเป็นวันอุโบสถ เจริญรสธรรมาบูชาฉลอง
ไปเจดีย์ที่ชื่อภูเขาทอง ดูสูงล่องลอยฟ้านภาลัย
อยู่กลางทุ่งรุ่งโรจน์สันโดษเด่น เป็นที่เล่นนาวาคงคาใส
ที่พื้นลานฐานบัทม์ถัดบันได คงคาลัยล้อมรอบเป็นขอบคัน
มีเจดีย์วิหารเป็นลานวัด ในจังหวัดวงแขวงกำแพงกั้น
ที่องค์ก่อย่อเหลี่ยมสลับกัน เป็นสามชั้นเชิงชานตระหง่านงาม
บันไดมีสี่ด้านสำราญรื่น ต่างชมชื่นชวนกันขึ้นชั้นสาม
ประทักษิณจินตนาพยายาม ได้เสร็จสามรอบคำนับอภิวันท์
มีห้องถ้ำสำหรับจุดเทียนถวาย ด้วยพระพายพัดเวียนอยู่เหียนหัน
เป็นลมทักขิณาวัฏน่าอัศจรรย์ แต่ทุกวันนี้ชราหนักหนานัก
ทั้งองค์ฐานราญร้าวถึงเก้าแสก เผลอแยกยอดสุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้นฯ…”
หนังสือบรรยาย ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า พระอารามอันเป็นหลักของพระนครนอกกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา มีวัดภูเขาทองรวมอยู่ด้วย ดังนี้
“... อนึ่ง เป็นหลักกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาราชธานีใหญ่นั้น คือ พระมหาปราสาทสามองค์ กับพระมหาธาตุวัดพระราม ๑ วัดหน้าพระธาตุ ๑ วัดราชบุณะ ๑ และพระมหาเจดียสถาน วัดสวนหลวงศภสวรรค์ ๑ วัดขุนใจเมือง ๑ กับพระพุทธปะฏิมากรวัดพระศรีสรรเพชร์ ๑ วัดมงคลบพิท ๑ และนอกกรุงเทพฯ นั้น คือพระมหาเจดีย์ฐานวัดพระยาไทย สูง ๒ เส้น ๖ วา ๑ วัดภูเขาทอง สูง ๒ เส้น ๕ วา ๑ กับพระประธานวัดพระเจ้าพะแนงเชิงของพระเจ้าสามโปเตียน ๑...”
เหตุการณ์หลังสุดที่เกี่ยวกับวัดภูเขาทอง และได้รับการบันทึกไว้ คือ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัดภูเขาทอง โดยต่อเติมปล้องไฉน ปลี และลูกแก้ว โดยเฉพาะลูกแก้วทำด้วยทองคำหนัก ๒,๕๐๐ กรัม เพื่อเฉลิมฉลองกึ่งพุทธกาล ในคราวบูรณะเจดีย์ภูเขาทองนี้ วัดภูเขาทองได้รับการสถาปนาเป็นวัดมีพระสงฆ์อีกครั้ง
นักวิชาการได้พยายามศึกษาค้นคว้าโดยใช้เอกสารทางประวัติศาสตร์เหล่านี้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติการก่อสร้าง สาเหตุของการก่อสร้าง ระยะเวลาของการก่อสร้าง ลำดับของการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคสมัยต่างๆ มาเป็นลำดับ กระนั้นยังไม่มีข้อยุติ การศึกษาทางโบราณคดีจึงถูกนำมาใช้โดยการตรวจสอบชั้นดิน การขุดค้นทางโบราณคดี และวิเคราะห์บนพื้นฐานของเหตุผลความน่าจะเป็นจากหลักฐานทางโบราณคดีและเอกสารทางประวัติศาสตร์ประกอบกัน ในวาระการดำเนินงานบูรณะโบราณสถานเจดีย์ภูเขาทอง พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑
จากการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดภูเขาทองของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ได้พยายามผนวกประวัติของการก่อสร้างเข้ากับรูปแบบทางสถาปัตยกรรม เกิดเป็นแนวความคิดหรือข้อสมมติฐาน สามารถสรุปได้เป็น ๓ แนวทาง คือ
แนวคิดที่ ๑ เชื่อว่าวัดภูเขาทองสถาปนาขึ้นในสมัยสมเด็จพระราเมศวร (พ.ศ. ๑๙๓๐ – ๑๙๓๘) ต่อมาภายหลังการเสียกรุงครั้งแรก พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงได้ทรงสร้างเจดีย์มอญขึ้น ณ วัดนี้ ต่อมาประมาณสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เจดีย์แบบพม่าได้พังลงไป จึงมีการสร้างขึ้นใหม่เป็นเจดีย์แบบไทยบนฐานมอญที่บูรณะขึ้นมาใหม่ และในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงได้ทรงบูรณะในส่วนรายละเอียดตกแต่ง
แนวคิดที่ ๒ เชื่อว่าเจดีย์ภูเขาทองสร้างโดยมอญ ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีฐานลาดแบบมอญ ส่วนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสร้างสมัยหลังจึงมีลักษณะไม่สัมพันธ์กัน
แนวคิดที่ ๓ เชื่อว่าเจดีย์ภูเขาทองสร้างขึ้นเมื่อคราวสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา และได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เลียนแบบพระมหาเจดีย์ในหงสาวดีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ข้อมูลจากหนังสือ "การบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง" กรมศิลปากร
--------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น