วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

25.07.2560 Wat Buak Khrok Luang, Chiang Mai, Thailand. วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

Wat Buak Khrok Luang, Chiang Mai, Thailand.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

Wat Buak Khrok Luang, Chiang Mai, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ  ข้อมูลและภาพ จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1057/thailand/chiang-mai/wat-buak-khrok-luang



Wat Buak Khrok Luang (วัดบวกครกหลวง) (early-mid 19th century)
Wat Buak Khrok Luang is a Lanna-style wat located about 6 kilometers east of city center. It was constructed in the early to mid 19th century (some sources say 1837, others 1857) and was renovated during the rule of Chao Kaew Nawarat, the ninth prince of Chiang Mai (1911-1939). The name of the temple, "Buak Krok", means "large hole" in the northern dialect. According to the Tourism Authority of Thailand, the name may refer to a huge hole dug in the ground as a place to pound and distribute stored rice to villagers during a an incident of famine.
The highlight of the temple are the 19th century mural paintings that cover most of the internal wall surfaces. The paintings comprise 14 panels (7 bays on each side) and were likely painted by the same artist, as they are all similar in style. At some point (possibly in 1925, the year the renovation likely took place), new windows were added to the temple, resulting in the removal of part of each painting to make may for the larger openings. Many of the the paintings are otherwise damaged by due to natural processes, along with physical damage from visitors touching the paintings or taking pictures using flash photography (as flash photography damages pigment to varying degrees, visitors are recommended not to use a flash when inside the temple; all photos on this site were taken without a flash using long exposures).
The subject of the paintings are the previous lives of the Buddha (the Jataka tales) as well as scenes from the Buddha's historical lifetime. Generally, the paintings on the north and southwest side of the wat depict the Jataka tales, whereas those on the south and southeast sides depict the life of the Buddha.
According to the photographer and art historian Michael Freeman, the large Buddha image is "Laotian in inspiration and rustic in execution."

Location

The approximate location of the site is 18.779560' N, 99.038078' E (WGS 84 map datum).

 01. Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.


 02.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 03.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 04.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 05.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 06.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 07.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 08.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 09.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 10.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 11.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 12.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 13.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 14.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 15.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 16.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 17.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 18.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 19.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 20.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 21.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 22.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 23.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 25.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 26.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 27.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 28.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 29.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 30.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 31.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 32.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 33.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 34.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 35.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 36.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 37.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 38.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 39.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 40.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 41.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 42.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 43.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 44.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 45.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 46.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 47.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 48.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 49.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 50.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 51.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 52.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 53.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 54.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 55.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 56.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 57.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 58.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 59.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 60.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 61.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 62.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

 63.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

64.Wat Buak Khrok Luang,Chiang Mai,Thailand.  Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.


Wat Buak Khrok Luang, Chiang Mai, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ  ข้อมูลและภาพ จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/1057/thailand/chiang-mai/wat-buak-khrok-luang

---------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Wat_boukkokluong.jpg


คำอธิบาย
ไทย: วัดบวกครกหลวง ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
English: Wat Buak Khrok Luang, San Kamphaeng, Chiang Mai
วันที่17 ตุลาคม พ.ศ. 2551
แหล่งที่มางานของตัว
ผู้สร้างสรรค์LigerCommon

----------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดบวกครกหลวง

วัดบวกครกหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดบวกครกหลวง
วัดบวกครกหลวงเป็นวัดขนาดเล็กในตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวิหารแบบล้านนาที่ได้รับบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 9 (พ.ศ. 2454-2482)

จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง[แก้]


ผนังเตมียชาดก ตอนพระเตมีย์นั่งอยู่บนตักพระราชบิดา เมื่อออกว่าราชการ ทอดพระเนตรพระราชบิดา สั่งตัดสินลงโทษ ภาพมุมขวาล่าง แม้พระเตมีย์จะถูกยั่วยวนแต่พระกุมารก็ยังคงนิ่งเฉย ภาพตอนบน นายสุนันต์เพชฌฆาตนำพระเตมีย์ไปประหารชีวิตในป่า
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ วิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ภาพแต่ละส่วนจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก ส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น ซึ่งที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และเวสสันดรชาดก
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย
สำหรับสีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงนี้พอจะจำแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลือง – น้ำตาล สีดำ และสีขาว ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงจึงถือเป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและการแต่งกายแบบพม่าและไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่น จุนโอ๊ก, ขันชี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ้ม ด้วย ซึ่งลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้นจึงเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนา โดยอาจมีข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางด้วย

ลักษณะพิเศษ[แก้]

ลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนาที่วัดบวกครกหลวง กับข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางมีดังนี้ [1]
  • จิตรกรรมภาคกลางนั้นเขียนภายในพระอุโบสถและพระวิหารที่มีหน้าต่างเป็นชุด จึงมีผนังระหว่างช่องหน้าต่างให้เขียนเป็นเรื่องราวพุทธประวัติบ้าง ทศชาติชาดกบ้าง ส่วนผนังเหนือหน้าต่างเขียนเรื่องพุทธประวัติ หรือมิฉะนั้นก็จะเขียนภาพเทพชุมนุมเป็นแถว ๆ ด้วยพระอุโบสถและพระวิหารทางภาคกลางมีขนาดใหญ่มาก ทั้งความสูงจากเหนือขอบหน้าต่างถึงสุดผนังข้างบนก็มีมาก ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จึงมักเขียนภาพเทพชุมนุมเป็นแถว ๆ ขนาดของเทวดาที่นั่งพนมมือเป็นแถวนั้นมีขนาดใหญ่เท่าคนจริงหรืออาจใหญ่กว่าคนจริงเล็กน้อย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ลงมามิได้เขียนเป็นภาพเทพชุมนุมแต่เขียนเป็นเรื่องราวของชาดกขนาดใหญ่ ภาพปฤศนาธรรม หรือภาพวิวขนาดมหึมา เช่น ภาพสวยสาธารณะ ภาพเรือใบเดินทะเลขนาดใหญ่ มีคลื่นลูกโตสาดซัด ภาพตึกรามบ้านช่อง บางทีก็เป็นภาพศาสนสถานขนาดใหญ่ เป็นต้น ส่วนสถาปัตยกรรมเชียงใหม่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น นิยมใช้เสาไม้รับน้ำหนักเครื่องบนหลังคาดังนี้เมื่อต้องการให้ภายในเป็นอาคารมีฝามิใช้อาคารโถง จึงต้องก่ออิฐเป็นผนัง (ที่จริงอาคารพุทธศาสนารุ่นเก่าของล้านนาเป็นอาคารโถง ซึ่งยังเหลือของเก่าให้เห็นเป็นจำนวนมาก) เหนือผนังด้านข้างตีไม้เป็นระแนงเป็นช่องลมทางยาวขนาดใหญ่ สามารถใช้ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ประตูด้านข้างเขาทำประตูส่วนบนเป็นยอดแหลมทั้งบานทาด้วยสีดินแดง ที่เสานูนจากผนังทำเป็นลายฉลุปิดทอง ภาพเขียนในวัดบวกครกหลวงนั้น จึงเขียนคาบเกี่ยวกันตั้งแต่สุดผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้างและผนังด้านบนจากช่องลมถึงกึ่งกลางหน้าต่างซึ่งไม่สูงเท่าไร เพราะส่วนสัดของพระวิหารวัดบวกครกหลวงผนังด้านข้างไม่สูงนัก
  • ภาพเขียนวัดบวกครกหลวงเขียนเส้นเป็นลายขอบรูปหนา และขอบนั้นล้อมรอบรูปเขียนเป็นสี่เหลี่ยม จึงทำให้เนื้อที่ผนังที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบลงไปอีก
  • การเขียนของบวกครกหลวงใช้ระบบสีฝุ่นบดผสมกาวยางไม้เช่นเดียวกับภาคกลาง แต่เรื่องราวแบบแผนกับวิธีการเขียนไม่เหมือนกัน ดังเช่น รูปเครื่องบนยอดปราสาทในภาพเขียน เขาเขียนโดยใช้ระบบเครื่องบนปราสาทพม่า ซึ่งเหมือนกับภาพเขียนผนังซ้ายมือพระประธานซึ่งเขียนในสไตล์พื้นเมือง นอกจากจะเขียนยอดปราสาทพม่าแล้วเครื่องปรุงปราสาทต่าง ๆ ก็เป็นแบบพม่า เป็นเครื่องสังวรว่าอิทธิพลจิตกรรมพม่าได้เข้าครอบงำจิตรกรรมล้านนา อาจจะเป็นเพราะว่าพม่าเคยมีอำนาจปกครองดินแดนล้านนามาเนิ่นนาน อันเป็นผลอันเป็นผลให้ศิลปะขนบประเพณีของพม่าเข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวเชียงใหม่ให้หันไปนิยมพม่าเสียหมด นับตั้งแต่ภาคกลางได้ขยายทางรถไฟให้ยาวขึ้นไปถึงเชียงใหม่ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 อิทธิพลวัฒนธรรมไทยภาคกลางได้แพร่เข้าไปถึงอย่างใกล้ชิด แต่ก็หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงอย่างปฏิรูปถอนรากถอนโคนในดินแดนล้านนาไม่
  • การเขียนเส้นสินเทาคั่นระหว่างภาพก็เหมือนกัน ทว่าที่วัดบวกครกหลวงก็แตกต่างกับภาคกลางอีก คือ เขามิได้ใช้เส้นสินเทาเป็นหยักแหลมรูปฟันปลาอย่างภาคกลาง แต่เขียนเป็นลายตามแบบแผนของเขา ยอดปราสาทก็เขียนแบบเดียวกับยอดปราสาทวัดพม่าที่เห็นทางเหนือทั่วไป
  • โครงสร้างของสีส่วนใหญ่ ถ้าหากนำมาเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังภาคกลางคงเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนว่า สีโดยส่วนรวมค่อนข้างสว่างเพราะมีการเขียนในระบบเดียวกับเขียนสมดุลข่อย คือเขียนบนพื้นสีขาวที่เตรียมไว้ ส่วนใดเป็นสีอ่อนก็จะระบายสีอ่อน ๆ คล้ายเทคนิคสีน้ำ ส่วนสีแก่ใช้ล้วงพื้นเอาซึ่งแตกต่างกับภาพเขียนภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ที่มักจะลงพื้นเข้มเสียก่อน เช่นเขียนภาพพื้นดินภูเขา ต้นไม้ลงพื้นระบายด้วยสีหนัก ๆ แล้วจึงเขียนภาพคนทับลงไปบนภาพที่ลงพื้นไว้เบื้องหลังแล้วด้วยเหตุนี้ ภาพจิตรกรรมที่นี่จึงมีส่วนที่เว้นสีพื้นขาวมาก เช่น ช่องว่างรอยต่อของเรื่องกับส่วนละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ทำให้ภาพดูสว่างตา
  • ภาพการเขียนด้วยคอมโปสิชั่นที่แปลก จิตรกรล้านนาท่านยักเยื้องแง่มุมของรูปให้เห็นมิติแปลก ๆ ลักษณะลวดลายผสมผสานกับท่าทีของการใช้ฝีแปรงอันกล้าหาญ เต็มไปด้วยพลัง เมื่อได้เห็นภาพานี้ผู้สนใจทางศิลปะคงรู้แก่ใจตนเองว่า ที่เขายกย่องกันถึงพื้นพลังสร้างสรรค์ของจิตรกรรมวัดบวกครกหลวงเป็นฉันใด เนื้อหาของภาพได้แสดงตนเองออกมาให้ประจักษ์แล้ว
  • แม้ว่าภาพเขียนวัดบวกครกหลวงจะเป็นจิตรกรรมที่มิใช่งานคลาสสิก แต่คุณค่าของจิตรกรรมในพระวิหารที่นี่อยู่ตรงความเป็นตัวของตัวเอง มิได้ลอกแบบหรือเอาอย่างมาจากใคร แม้เป็นเรื่องราวในพุทธศาสนา แต่เราก็จะเห็นว่าครูที่เคยเห็นอย่างจำเจในภาคกลางไม่ปรากฏ ณ ที่นี่ แสดงว่าเป็นงานจิตรกรรมบริสุทธิ์ ที่สร้างสรรค์ มาจากจินตนาการอันแท้จริงของชาวล้านนา
  • จิตรกรรมล้านนาไม่ว่าจะเป็นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ หรือวัดภูมินทร์ น่าน มีลักษณะการเขียนใบหน้าดูชื่อ ๆ ถ้าเป็นคนหมู่มากก็จะยืนเรียงเข้าแถวแนว หรือเรียง
หน้ากันเป็นตับลักษณะเหล่านี้ นักวิชาการศิลปะสามารถวินิจฉัยได้ว่า นั่นคือลักษณะการคลี่คลายตัวของศิลปะในแบบพริมิทีฟ ( primitive ) ซึ่งยังไม่สูงสู่ระดับอาร์เคอิก (Archaic) หรือคลาสสิก(Classic) อย่างไรก็ดี ในการดูคุณค่าทางศิลปะ ท่านมิได้เพ่งเล็งในแง่ระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูงแต่อย่างไร คุณค่าสำคัญก็คือการแสดงออกของอารมณ์

วิหารวัดบวกครกหลวง[แก้]

สร้างครั้งใดไม่ปรากฏประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี วิหารนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ. 2468 ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาด้วย หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้าทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได ซึ่งทำเป็นมกรอมนาคที่มีปากลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทองลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง(พระวัชรวีร์ วชิรเมธี. 2550: 11)
จากแผนผังวิหารแห่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทำเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง 14 ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนำเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง
วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหมซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายใจวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลางวิหารถึง 12 ต้น ภายหลังจึงได้มีการทำผนังทึบขึ้นมา 3 ด้านคือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้เป็นการรับน้ำหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้าเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม
หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์ เป็นรูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งวารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทำเป็นราวบันไดรูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ
หน้าบันวิหารเป็นหน้าบันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ. 2468 สันนิษฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวยลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีอยู่ 2 ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหลท่านั้น
นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฎีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหารด้วย (ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 80-82)

------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/522842

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดบวกครกหลวง

โดย
 Tipaporn Inpong
 -
26/09/2016



 จิตรกรรมฝาผนังของวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นผลงานระดับมัสเตอร์พีซของฝีมือช่างสกุลล้านนาที่บรรจงแต่งแต้มเรื่องราวทางพุทธชาดกเอาไว้อย่างยอดเยี่ยม ใครก็ตามที่ไปเยือนเมืองเชียงใหม่แล้วไม่ได้เที่ยววัดบวกครกหลวง เหมือนกับที่มาเที่ยวเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไปดอยสุเทพยังไงยังงั้น

วัดบวกครกหลวง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในยุคสมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ความโดดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่วิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้
จากตำนานประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชนบวกครกหลวงว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชียงใหม่ระหว่างแอ่งที่ลุ่มลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่คาว จนกลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนและชื่อวัดในเวลาต่อมา แม้จะปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า เดิมชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดม่วงคำ” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มักนิยมเรียกชื่อของวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนว่า “วัดบวกครกหลวง”


ในสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 (ระหว่าง พ.ศ.2452-2482) ได้ทำการบูรณะวิหารวัดบวกครกหลวง โดยเฉพาะจากเจ้าราชภาคิไนย(แผ่นฟ้า) บิดาของเจ้าจามรี ชายาของเจ้าแก้วนวรัฐ ได้ทำการบูรณะวิหารครั้งใหญ่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่หน้าบัน ระบุปีพ.ศ.2468 ซึ่งเป็นปีที่บูรณะ และต่อมามีการบูรณะอีกครั้งในปีพ.ศ. 2498 มีการเทพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร เขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาต จำนวน 14 ห้องภาพ โดยฝีมือช่างไตชาวล้านนา ความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกได้รับการยกย่องจาก น.ณ.ปากน้ำว่าเป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดใสจัดจ้าน ท่าทีการใช้แปรงเหมือนกับภาพเขียนของอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อย่างแวนโก๊ะ จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นชาวดัตซ์ ต่อมา สน สีมาตรัง ได้ทำการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังของวัดในล้านนา โดยเฉพาะที่วัดบวกครกหลวงอย่างละเอียดพบข้อมูลที่น่าสนใจคือ จิตรกรรมฝาผนังในล้านนาไม่พบการเขียนทศชาติครบทั้งสิบพระชาติ แต่จะมีการเลือกมาเฉพาะตอนที่นิยมเพียงบางเรื่องเท่านั้น ทว่าที่วิหารวัดบวกครกหลวงมีการเขียนเรื่องทศชาติชาดกมากที่สุด คือมี 6 พระชาติคือ เตมิยชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิฑูรชาดกและเวสสันดรชาดก ซึ่ง สน สีมาตรังสันนิษฐานอายุว่าประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 24



ขณะที่จิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดด จังหวัดเชียงใหม่ มีเพียง 2 เรื่องคือ วิฑูรชาดกและเวสสันดรชาดก วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน พบเพียงเรื่องเดียวคือ เนมิราชชาดก จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าข้าม เชียงใหม่มีเพียงเรื่องเดียวคือ เวสสันดกชาดก เหมือนจิตรกรรมฝาผนังวัดเสาหิน เชียงใหม่เช่นกัน ส่วนภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังของวัดพระสิงห์เป็นภาพเขียนเรื่องสังข์ทองหรือสุวัณณสังขชาดก ซึ่งเป็น 1 ใน 50 เรื่องของปัญญาสชาดกหรือชาดกนอกนิบาต เป็นงานวรรณกรรมที่แต่งเลียนแบบชาดกโดยพระเถระชาวเชียงใหม่
ในรายงานของสมโชติ อ๋องสกุล กล่าวถึงภาพเขียนจิตรกรรมของวัดบวกครกหลวงว่า เป็นภาพเขียนที่สีสันได้จัดจ้าน ร้อนแรง โดยจำแนกสีได้ 6 กลุ่มคือ สีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลืองน้ำตาล สีดำ และสีขาว ส่วนการใช้สีกับฝีแปรง ปรากฏว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง นิยมใช้พู่กันป้ายแต้มและปาดสีแท้ที่มีควาจัดจ้าอย่างเด็ดเดี่ยว กล้าหาญและมีความมั่นใจในการแสดงออก โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา เนินดิน โขดหินและลำน้ำ ธรรมชาติเหล่านี้ปกติมีรูปร่างอิสระเป็นแนวเส้นทางนอนที่เลื่อนไหลคดเคี้ยวไปมาอยู่แล้ว ยิ่งมาประกอบกับความนิยมของช่างชาวล้านนาที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดใสอย่างอิสระด้วยแล้ว นับเป็นภาพฉากธรรมชาติที่สวยงามโดดเด่นยิ่งนัก

ที่น่าสังเกตคือ เส้นพู่กันที่ป้ายมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และยังพบอีกว่าช่างชาวล้านนารู้จักใช้พู่กันแต้มสีแท้เป็นดวง ๆ อย่างหยาบ ซึ่ง สน สีมาตรัง ระบุว่ายังไม่เคยพบวิธีการเช่นนี้ในจิตรกรรมฝาผนังที่ไหนเลย เมื่อเทียบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดดและวัดพระสิงห์ ซึ่งไม่มีการใช้พู่กันป้ายปาดอย่างกล้าหาญ สภาพของเส้นทั่วไปจึงดูจืดชืดกว่าวัดบวกครกหลวงมาก
นอกจากนั้นแล้ววิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลือนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาท
จิตรกรรมฝาผนังของวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นผลงานระดับมัสเตอร์พีซของฝีมือช่างสกุลล้านนาที่บรรจงแต่งแต้มเรื่องราวทางพุทธชาดกเอาไว้อย่างยอดเยี่ยม ใครก็ตามที่ไปเยือนเมืองเชียงใหม่แล้วไม่ได้เที่ยววัดบวกครกหลวง เหมือนกับที่มาเที่ยวเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไปดอยสุเทพยังไงยังงั้น
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพจิตรกรรมของช่างชาวล้านนาอายุ 100 กว่าปีได้ที่ วัดบวกครกหลวง ต.ท่าศาลา อ.เมือง ใช้เส้นทางสายอำเภอสันกำแพงเดิม
จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th
-------------------------------------------------------

Moonfleet ได้มาเยือน วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 
วันอาทิตย์ ที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2552

 01. ประวัติ วัดบวกครกหลวง

วัดบวกครกหลวง เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 24 บ้านบวกหลวง หมู่ที่ 1 ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 8-0-76 ไร่

วัดบวกครก เดิมชื่อ วัดม่วงคำ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างจึงไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ในวัดบวกครกหลวงมีโบราณสถานที่สำคัญและสถิตคู่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้มานานหลายชั่วอายุคน นั้นก็คือ วิหารหลวงหลังงามตามแบบฉบับพื้นเมืองล้านนาที่เด่นสง่าอยู่ในบริเวณวัด และ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงอันทรงคุณค่ายิ่ง โดยกรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะภาพฝาผนัง และ ประมาณอายุของการก่อสร้างของวิหารหลวงหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา คำว่่า "บวกครกหลวง" คำนี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "บวก" แปลว่า "หลุม" "ครก" แปลว่าภาชนะตำข้าว คำว่า "หลวง" แปลว่า "ใหญ่" แปลรวมหมายถึง ภาชนะตำข้าวขนาดใหญ่ 

มีผู้รู้เล่าต่อกันมาว่า ในหมู่บ้านนี้มีหลุมสำหรับตำข้าวขนาดใหญ่ ใช้ตำข้าวเลี้ยงคนจำนวนมากในหมู่บ้าน

บ้างก็บอกว่าลำเหมืองในหมู่บ้าน ครั้งหนึ่งมีน้ำไหลนองและกัดเซาะบริเวณลำเหมืองหน้าวัดเป็นหลุมขนาดใหญ่คล้ายครก ชาวบ้านเรียกว่า บวกครกหลวง 

เมื่อประมาณ 200 ปีผ่านมา ชื่อวัดบวกครกหลวงปรากฏในนามในพระคัมภีร์ใบลานของตำนานล้านนาหลายแห่ง แต่เป็นนามว่า วัดบวกครก เท่านั้น คำว่า หลวง ได้รับการขนานนามต่อท้ายชื่อเดิม อาจจะมาจาก 2 นัย ด้วยกัน 

โดยนัยแรก ตามที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น

ส่วนนัยที่ 2 นั้น อาจเป็นเพราะยุคสมัยเปลี่ยนแปลง มีการสร้างถนนสายสันกำแพงตัดผ่านพื้นที่ ทำให้ประชากรของหมู่บ้านไม่สะดวกต่อการมาทำบุญ ของผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของถนน จึงมีการสร้างอารามแห่งใหม่ขึ้น ชื่อวัดบวกครกน้อย และ เพิ่มคำว่าหลวงให้แก่วัดบวกครก

วัดบวกครกหลวง มีพระอุโบสถของวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ถอนสีมาออกเพื่อความสะดวกในการลงธรรม สังฆกรรม และ การดูแลของคณะสงฆ์ภายในวัด และ กำหนดเขตสีมาขึ้นใหม่ ภายในอาณาบริเวณของที่ตั้งวัดปัจจุบัน และ รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช 2497

สันนิษฐานว่า วัด และ เสนาสนะสถาน อันได้แก่ วิหารหลวง พระอุโบสถ ไดัถูกสร้างขึ้นมาก่อนแล้ว และ หลังจากนั้นได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และ ในสมัยรัชกาลที่ 7 

วัดบวกครกหลวง ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งด้วยกัน การบูรณครั้งใหญ่เมื่อปีพุทธศักราช 2468 เจ้านายฝ่ายเหนือ โดยการนำของเจ้าราชภาคินัย บิดาแม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ได้มีการซ่อมเสาวิหาร ซึ่งเป็นเสาไม้สักขนาดคนโอบไม่รอบซึ่งผุและมีปลวกมากัดกินทำรัง จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์และเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และ ได้เจาะผนังทำเป็นช่องลมและหน้าต่าง ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังหายไปบางส่วน พร้อมกับได้สร้างมุขหน้าวิหารใหม่ โดยได้เสามาจากวัดสวนดอก

ปัจจุบันกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนวัดบวกครกหลวงไว้เป็นโบราณสถาน ตามประกาศขึ้นทะเบียนและ กำหนดขอบเขต ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 41 ลงวันที่ 14 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2523

นายบุญทา นางคำหน้อย เรือนสติ
พร้อมบุตรหลานสร้างถวาย
มกราคม 2550



 02.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 03.ประวัติ วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 
 04.ซุ้มป้ายชื่อวัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 05.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 06.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 07.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 08.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 09.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 10.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 11.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 12.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 13.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 14.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 15.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 16.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 17.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 18.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 19.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 20.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 21.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 22.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 23.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 24.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 25.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 26.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 27.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 28.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 29.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 30.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 31.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 32.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 33.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 34.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 35.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 36.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

 37.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

38.วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น