วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

30.07.2560 นครดานัง หรือ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. Danang Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam.

ดานัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดานัง
Đà Nẵng
เทศบาลนคร
ชายหาดหมีเค · กระเช้าไฟฟ้าบ่าน่า · ภูเขาหินอ่อน · โนโวเทลดานัง · สะพานข้ามแม่น้ำห่าน
ชายหาดหมีเค · กระเช้าไฟฟ้าบ่าน่า · ภูเขาหินอ่อน ·โนโวเทลดานัง · สะพานข้ามแม่น้ำห่าน
แผนที่ประเทศเวียดนามเน้นดานัง
แผนที่ประเทศเวียดนามเน้นดานัง
พิกัดภูมิศาสตร์: 16°04′N 108°14′E
ประเทศ เวียดนาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,256 ตร.กม. (485 ตร.ไมล์)
ประชากร (พ.ศ. 2555)
 • ทั้งหมด973,800
 • ความหนาแน่น780 คน/ตร.กม. (2,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาเขตเวลาอินโดจีน (UTC+07:00)
รหัสพื้นที่511
ดานัง หรือ ด่าหนัง (อังกฤษDa NangเวียดนามĐà Nẵng) เป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนามกลางตอนใต้ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลจีนใต้ จัดเป็น 1 ใน 5 เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นในเวียดนาม

สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]

ตำแหน่งที่ตั้ง[แก้]

ดานังตั้งอยู่ที่ตำแหน่งละติจูดที่ 15°55' ถึง 16°14' องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 107°18' ถึง 108°20' องศาตะวันออก ทิศเหนือติดกับเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียดนาม ทิศตะวันตกและทิศใต้ติดกับจังหวัดกว๋างนาม ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ 764 กิโลเมตร และห่างจากโฮจิมินห์ซิตีไปทางเหนือ 964 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ[แก้]

[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของดานัง
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภมูิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)32
(90)
35
(95)
37
(99)
41
(106)
39
(102)
38
(100)
38
(100)
38
(100)
37
(99)
36
(97)
35
(95)
32
(90)
41
(106)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)24.8
(76.6)
26.1
(79)
28.7
(83.7)
31.0
(87.8)
33.4
(92.1)
33.9
(93)
34.3
(93.7)
33.9
(93)
31.5
(88.7)
29.6
(85.3)
27.0
(80.6)
24.9
(76.8)
29.93
(85.87)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)21.7
(71.1)
23.0
(73.4)
25.1
(77.2)
27.2
(81)
29.2
(84.6)
29.7
(85.5)
29.8
(85.6)
29.7
(85.5)
27.8
(82)
26.4
(79.5)
24.3
(75.7)
22.1
(71.8)
26.33
(79.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)18.5
(65.3)
19.8
(67.6)
21.5
(70.7)
23.3
(73.9)
24.9
(76.8)
25.5
(77.9)
25.3
(77.5)
25.5
(77.9)
24.1
(75.4)
23.2
(73.8)
21.6
(70.9)
19.3
(66.7)
22.71
(72.88)
อุณหภมูิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)8
(46)
7
(45)
11
(52)
7
(45)
18
(64)
20
(68)
17
(63)
21
(70)
21
(70)
12
(54)
7
(45)
11
(52)
7
(45)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)96.2
(3.787)
33.0
(1.299)
22.4
(0.882)
26.9
(1.059)
62.6
(2.465)
87.1
(3.429)
85.6
(3.37)
103.0
(4.055)
349.7
(13.768)
612.8
(24.126)
366.2
(14.417)
199.0
(7.835)
2,044.5
(80.492)
ความชื้นร้อยละ83838382787574768184848480.6
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย13.76.94.85.68.98.08.611.415.421.220.918.6144
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด136.4144.1105.4207.0257.3237.0257.3207.7174.0145.7120.0116.62,108.5
แหล่งที่มา1: World Meteorological Organisation (UN)[1]
แหล่งที่มา 2: Weatherbase (record highs, lows, and humidity) [2]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ปี พ.ศ. 2390 เรือรบฝรั่งเศสได้ระดมยิงโจมตีเมืองดานังเพื่อตอบโต้ที่กลุ่มมิชชันนารีคาทอลิกถูกประหารชีวิต
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2401 กองทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดานัง ตามพระบัญชาของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เพื่อประกาศพื้นที่นี้เป็นอาณานิคมภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า ตูราน (Tourane) ขณะนั้นถือว่าเป็น 1 ใน 5 เมืองสำคัญบนคาบสมุทรอินโดจีน ในระหว่างสงครามเวียดนาม เมืองนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพอากาศหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นจำนวนประชากรในเมืองได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยสงคราม
ก่อนปี พ.ศ. 2540 ดานังยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดกว๋างนาม-ดานัง จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ดานังได้ถูกแยกออกจากจังหวัดกว๋างนาม และเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งที่ 4 ของเวียดนาม

การศึกษา[แก้]

ดานังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่

สภาพเศรษฐกิจ[แก้]

ดานังจัดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีท่าเรือที่รองรับการขนส่งสินค้า มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กตั้งอยู่ในเมืองจำนวนหนึ่ง สินค้าเศรษฐกิจของเมืองได้แก่
  • อาหารทะเล
  • เครื่องเรือนหวาย
  • เครื่องใช้ภายในบ้านทั่วไป
  • เครื่องนุ่งห่ม
ในดานังมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ราว 4,900 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 ดานังมีสินค้าส่งออกคิดเป็นมูลค่าราว 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเดินทาง[แก้]

ดานังตั้งอยู่ที่ปลายสุดของแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า

ทางอากาศ[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติดานังตั้งอยู่ใจกลางเมืองดานัง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติลำดับที่สามของเวียดนาม เป็นช่องทางสำคัญในการเดินทางเข้าสู่เวียดนามตอนกลาง เมื่อก่อนปี พ.ศ. 2515 ที่นี่เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีเครื่องบินขึ้นและลงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากมีกิจกรรมทางทหารอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินภายในประเทศระหว่างเมืองสำคัญต่าง ๆ ภายในเวียดนาม เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี กุยเยิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังกรุงเทพมหานครและสิงคโปร์

ทางบก[แก้]

  • ทางหลวงหมายเลข 1
  • ทางหลวงหมายเลข 14B
  • ทางพิเศษดานัง-กว๋างหงาย (กำลังก่อสร้าง)
  • อุโมงค์หายเวิน
  • สะพานข้ามแม่น้ำฮัน

ทางเรือ[แก้]

  • ท่าเรือเทียนซา

เมืองพี่น้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น