วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

16.07.2560 Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand. วัดเชิงท่า ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.

Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/977/thailand/ayutthaya/wat-choeng-tha


Wat Choeng Tha (วัดเชิงท่า) (age unknown)

Wat Choeng Tha is located north of the Ayutthaya city island opposite the site of the Ayutthaya palace. The temple's age is not known, but it was probably built in the early Ayutthaya period and temporarily abandoned after the Burmese sacked the city in 1767. Apart from the prang and surrounding brick buildings, the temple's present layout and its famed mural paintings are primarily a result of renovations during the reign of King Rama IV (early to mid 19th century).
The temple was originally known as Wat Koy Tha. This name appears in a local legend in which the beautiful daughter of a wealthy man eloped with her lover. Distraught with the loss of his daughter, the wealthy man built a bridal house in forgiveness and waited in vain for her return for many years. Finally, he ordered the construction of a monastery on this site called Wat Koy Tha, meaning the 'temple of waiting'. The present name of Wat Choeng Tha dates from the Rama IV period.
Major buildings of interest on the site include the large, well preserved prang (tower) at the north side of the site. Immediately to the west of the prang is an old ubosot (ordination hall) which features a traditional boat-shaped base. At the back of the monastery is the wooden sermon hall with remnants of mural paintings created by the abbot, Phra Ajarn Dharm and a certain Mr. Khae in the Rama IV era.

Location

The approximate location of the site is 14.362023' N, 100.555328' E (WGS 84 map datum).
 01.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 02.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 03.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 04.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 05.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 06.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 07.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 08.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 09.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 10.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 11.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 12.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 13.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 14.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 15.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 16.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 17.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 18.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 19.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 20.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 21.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 22.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 23.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 24.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 25.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 26.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 27.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 28.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 29.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 30.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 31.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 32.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 33.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 34.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 35.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 36.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 37.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 38.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 39.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 40.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 41.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 42.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 43.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 44.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 45.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 46.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 47.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 48.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 49.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 50.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 51.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 52.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 53.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 54.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 55.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 56.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 57.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 58.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 59.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 60.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 61.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 62.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 63.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 64.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


 65.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


66.Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.


วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
Wat Choeng Tha, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/977/thailand/ayutthaya/wat-choeng-tha

-----------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://thai.tourismthailand.org/วัดเชิงท่า

วัดเชิงท่า 
 ทุกวัน
 08.00 - 17.30
ข้อมูลการติดต่อ 
เบอร์โทร
+66 3532 8030, +66 3532 8031
ที่อยู่ ใกล้กับวัดหน้าพระเมรุ ตำบลวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


 1.วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว
ที่อยุธยามีวัดเชิงท่าอยู่ 2 แห่งคือที่อำเภอบางปะอินและอำเภอเมือง ซึ่งวัดเชิงท่าที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวัดในอำเภอเมือง อยู่บริเวณท่าข้ามเรือฝั่งเกาะเมืองมายังฝั่งวัดเชิงท่า จึงเป็นที่มาของชื่อวัดเชิงท่าหรือวัดตีนท่า วัดแห่งนี้มีตำนานการก่อสร้างหลายสำนวน ทั้งในประวัติศาสตร์และวรรณคดี เช่น ตำนานว่ามีเศรษฐีสร้างเรือนหอให้บุตรสาวซึ่งหนีตามชายคนรักไปแล้วไม่ย้อนกลับ จึงถวายเรือนหอแก่วัดที่สร้างขึ้น ชื่อว่า วัดคอยท่า ซึ่งปรากฎในนิราศทวารวดีของหลวงจักรปราณีแต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่อพระยาโกษาปานราชทูตไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับมาจากฝรั่งเศสแล้วได้มาปฏิสังขรณ์วัดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโกษาวาส รวมทั้งเป็นสถานศึกษาของนายสิน หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาภาษาไทย ขอมและพระไตรปิฎกที่วัดนี้
บริเวณวัดยังมีโบราณสถานสำคัญประจำวัด  ได้แก่ ปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษหาที่อื่นไม่ได้ โดยก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาทหรือไม้กางเขนโดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นหน้าวัดแต่เดิม สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่พบที่วัดเชิงท่านี้แห่งเดียว 
ส่วนศาลาการเปรียญสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก ซึ่งย้ายมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังโบราณและยังมีงานช่างฝีมือเล็กๆ น้อยๆ  มากมาย เช่น ลายจำหลักไม้ที่ส่วนบน ที่เรียกว่านมบนของอกเลา หรือสันกลางบานประตูหน้าต่าง ซึ่งสลักลวดลายแต่ละบานไม่ซ้ำกันเลย ทั้งลายไทย จีนและฝรั่งเสาแต่ละต้นก็มีลายมือสมัยรัชกาลที่ 4 เขียนไว้อย่างบรรจง ถึงชื่อช่างที่เขียนลายประดับเสาต้นนั้นๆ  
วัดเชิงท่าตั้งอยู่ที่ตำบลวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่วัดเชิงท่า โทร. 0 3532 8030 - 1 



2.วัดเชิงท่า  ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

-----------------------------------------------------------------

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.weloveayutthaya.com/index.aspx?ContentID=ContentID-101110093326639

    วัดเชิงท่า
    หรือ วัดตีนท่า หรือ วัดติณ หรือ วัดคลัง หรือ วัดโกษาวาสน์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง วัดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมือง ริมฝั่งซ้ายของ แม่น้ำลพบุรี ใกล้กับ คูไม้ร้อง ซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ฝั่งตรงข้ามวัด คือ ป้อมท้ายสนม และ ปากคลองท่อ ซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมือง มาขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้า วัดเชิงท่า

    จากตำนานคำบอกเล่า เรื่องราว และประวัติความเป็นมาของ วัดเชิงท่า ได้กล่าวไว้ว่า เศรษฐีผู้หนึ่ง มีบุตรสาวสวยอยู่ ๑ คน ด้วยความมั่งคั่งของฐานะ จึงได้สร้างเรือนไม้อันวิจิตรไว้ให้บุตรสาวออกเรือน (แต่งงาน) คือ ยกให้เป็นเรือนหอนั่นเอง แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่ง บุตรสาวคนสวยของเศรษฐี ได้ลักลอบหนีออกจากบ้านไปกับผู้ชาย ครั้นบุตรสาวหนีออกจากบ้านไปแล้ว เศรษฐีก็ตกอยู่ในอาการเศร้าโศก ตั้งหน้าเฝ้าคอยหวังว่าสักวันหนึ่งบุตรสาวของตนต้องกลับบ้าน รอแล้วรอเล่ารออยู่หลายปีบุตรสาวก็ไม่กลับมาสักที เศรษฐีจึงยกเรือนหอ (รอเก้อ) ถวายให้กับวัด ซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลของเศรษฐีนั่นเอง จึงได้ชื่อว่า วัดคอยท่า เรื่องที่เล่าสืบกันมานี้ หลวงจักรปาณี ได้นำมาประพันธ์ไว้ใน นิราศทวารวดี มีความตอนหนึ่งว่า

    พิหารมีสี่มุขทั้งสี่ด้าน ดูโอฬารลดหลั่นน่าหรรษา
    เหมือนปราสาทราชวังอลังการ์ มุขเด็จหน้าดั่งหนึ่งท้องพระโรงทรง
    ที่ท่ามกลางมีพระปรางค์เป็นองค์ปลอด ดูใหญ่ยอดสูงเฉิดระเหิดระหง
    ที่เชิงปรางค์ข้างต่ำมีถ้ำลง เขาว่าตรงออกช่องคลองสระปทุม
    ผู้ใหญ่เขาเล่ามาก็น่าเชื่อ ว่าครั้งเมื่อเมืองสนุกยังสุขสม
    มีเศรษฐีมีมั่งตั้งรวบรุม เงินตวงตุ่มเหลือล้นพ้นประมาณ
    มีบุตรสาวเล่าก็ไม่ให้ใครเห็น จึงสร้างเป็นปรางค์มาศราชฐาน
    อันนี้ไว้ให้ธิดาอยู่มานาน แต่หญิงพาลตามชายสูญหายไป
    เศรษฐีแสนแค้นคะนึงถึงลูกสาว ไม่ได้ข่าวคอยท่าน้ำตาไหล
    จึงอุทิศปรางค์มาศปราสาทชัย อันนี้ให้เป็นวิหารทำทานทุน
    ให้เรียกวัดคอยท่ามาชัดชัด กลับเป็นวัดเชิงท่านึกน่าหุน

    ตอบลบ
  2. จากตำนานคำบอกเล่า เหตุที่มาของชื่อ วัดตีนท่า สืบเนื่องมาจาก วัดสร้างอยู่ใกล้ ท่าเรือปากคลองท่อ (ด้านเหนือ) ตรงกับ วัดพุทไธศวรรย์ ตามแนว คลองท่อ ทางด้านใต้ของเกาะ หรืออาจจะมาจากที่ตั้งของวัดอยู่นอกเมือง และใกล้กับท่าเรือ ผู้คนสามารถสัญจรข้ามไปมาได้ ชาวบ้านชาวเมืองจึงพากันเรียก วัดตีนท่า

    ส่วนเหตุที่มาของชื่อ วัดติณ น่าจะมาจากคำว่า ติณ ซึ่งแปลว่า หญ้า เพราะตั้งแต่รัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา ถึงรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ บริเวณที่ตั้งวัดคงจะเป็นที่รวบรวมหญ้า เพื่อนำข้ามฝั่งไปให้ ช้าง ม้า ใน พระบรมราชวัง จึงเป็นที่มาของชื่อ วัดติณ


    บริเวณเชื่อมต่อวิหาร

    ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ กล่าวว่าครั้ง เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส ครั้นกลับจากประเทศฝรั่งเศสแล้ว ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดคอยท่า ใหม่ทั้งอาราม บูรณะวัดเสร็จได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโกษาวาสน์

    ในรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา ลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๓๐๑) บริเวณวัดนี้คงจะเป็นที่รวบรวมหญ้า เพื่อนำข้ามฝั่งไปให้ช้างม้าในวัง จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดติณ

    ตอบลบ
  3. ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ โปรดฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์ วัดโกษาวาสน์ อีกครั้ง (สันนิษฐานว่าน่าจะบูรณะ ในขณะ พระภิกษุสิน (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) บวชเป็นพระ จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้) ครั้นทำการบูรณะเสร็จแล้ว โปรดฯให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเชิงท่า


    รูปหล่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทรงบัลลังก์ ขนาดเท่าองค์จริง



    ตอบลบ
  4. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช)

    วัดเชิงท่า มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไทยพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช อย่างไร? กล่าวคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทรงมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดแห่งนี้ถึง ๒ ครั้ง และเป็นช่วงสำคัญของชีวิตทั้ง ๒ ครั้ง ของพระองค์เลยทีเดียว

    ครั้งที่ ๑ ในปีพุทธศักราช ๒๒๘๔ เด็กชายสิน (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) อายุได้ ๗ ปี เจ้าพระยาจักรี (โรงฆ้อง) ซึ่งเป็นพ่อบุญธรรม ได้นำ เด็กชายสิน เข้าสำนักการศึกษากับ พระอาจารย์ (มหาเถร) ทองดี ณ วัดโกษาวาสน์

    เนื่องจาก เด็กชายสิน เป็นเด็กเฉลียวฉลาด มีความคล่องแคล่ว เรียนรู้การงาน และการเรียนได้รวดเร็วกว่าเด็กทั่วไป จึงช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของวัดได้เป็นอย่างดี และเป็นคนทำอะไรทำจริง มิหนำซ้ำยังมีใจนักเลงกล้าได้กล้าเสีย เด็กชายสิน จึงขึ้นขั้นเป็นหัวโจกลูกศิษย์วัดด้วยกันเลยทีเดียว วันหนึ่ง เด็กชายสิน ได้ชักชวนศิษย์วัด เปิดบ่อนพนันเป็นเจ้ามือเล่นกำถั่วขึ้นในวัด พระเดินมาเห็นเข้า จึงได้นำเรื่องไปฟ้อง พระอาจารย์ทองดี พระอาจารย์ทองดี ไต่สวน สืบความ ได้ความกระจ่างว่า เด็กชายสิน เป็นหัวโจกชักชวนเพื่อนเล่นการพนันจริง ฝ่าฝืนกฎระเบียบของวัด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เด็กคนอื่น ๆ พระอาจารย์ทองดี จึงได้ทำการลงโทษ เด็กชายสิน สถานหนัก โดยนำตัวไปมัดมือคร่อมอยู่กับบันไดท่าน้ำ ตั้งแต่ตอนบ่ายจนตกค่ำ ส่วน พระอาจารย์ทองดี เมื่อจัดการลงโทษแล้ว ได้เข้าวัดปฏิบัติศาสนกิจตามปกติ เวลาพลบค่ำน้ำขึ้นท่วมบันได และได้ท่วมร่างเด็กชายสิน แต่ด้วยปาฏิหาริย์ เสาบันไดนั้นถอนหลุดลอยน้ำ นำร่าง เด็กชายสิน ไปพร้อมกับบันได เวลาล่วงเลยนานเข้า พระอาจารย์ทองดีเกิดนึกขึ้นมาได้ จึงชวนพระลูกวัดไปดูที่ท่าน้ำ ปรากฏว่าไม่พบ เด็กชายสิน พระอาจารย์ทองดี ตกใจมาก เกรงว่าจะถูก เจ้าพระยาจักรี (โรงฆ้อง) ตำหนิ จึงพากันรีบค้นหา ในที่สุดก็พบ เด็กชายสิน ลอยผูกติดกับบันได อยู่ฝั่งตรงข้ามท่าน้ำ พระอาจารย์ทองดี รีบนำตัวเด็กชายสินให้พ้นจากน้ำทันที และพาเข้าไปในพระอุโบสถ ให้ เด็กชายสิน นั่งลงต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธรูป (พระประธาน) อยู่ท่ามกลางคณะสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์ร่วมสวดพระพุทธมนต์ ชยันโต เป็นการรับขวัญที่ เด็กชายสิน รอดตายราวปาฏิหาริย์ ขณะอยู่ในสำนักของ พระอาจารย์ทองดี เด็กชายสิน ได้เรียนหนังสือขอมไทย เรียนคัมภีร์พระไตรปิฎก จนจบครบขบวนความ

    ครั้งที่ ๒ ในปีพุทธศักราช ๒๒๙๘ มหาดเล็ก (สิน) (เข้าถวายตัวเป็น มหาดเล็ก อยู่ในพระบรมราชวังรับใช้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๙๐) อายุครบ ๒๑ ปี ได้กราบถวายบังคมลาอุปสมบทต่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้ นายสิน ได้บวชเป็น พระภิกษุสิน และจำพรรษาอยู่ที่ วัดโกษาวาสน์ วัดเดิมที่เคยเป็นศิษย์วัดอยู่กับ พระอาจารย์ทองดี ขณะ พระภิกษุสิน จำพรรษาที่ ๓ นายทองด้วง ซึ่งมีอายุอ่อนกว่า พระภิกษุสิน ๒ ปี (พระราชสมภพปีพุทธศักราช ๒๒๗๙) ได้อุปสมบท และเนื่องจากวัดอยู่ใกล้กัน พระภิกษุทั้ง ๒ รูป จึงมักได้พบกันบ่อยครั้ง เช้าวันหนึ่งขณะ พระภิกษุสิน จาริกรับบาตร ผ่านบ้านเรือนไทยจีน ซึ่งตั้งอยู่ในละแวกนั้น ครั้นเดินมาถึงมุมโบสถ์พราหมณ์ ถนนชีกุญ ได้พบกับ พระภิกษุทองด้วง ขณะภิกษุสหายทั้ง ๒ รอรับบาตรข้าว ได้มีซินแสชาวจีนผู้หนึ่ง เดินผ่านมาพบพระภิกษุทั้ง ๒ ซินแสผู้นั้นพินิจดู พระภิกษุสิน และ พระภิกษุทองด้วง ด้วยความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อพิจารณาได้สักครู่ จึงกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อเลยที่ได้เห็นกษัตริย์ไทยสององค์มาเดินบิณฑบาตด้วยกันอย่างนี้ และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า พระคุณเจ้าทั้งสองจะต้องได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อย่างแน่นอน ขอให้คำทำนายนี้จงเป็นมงคลสืบไปเถิดพระคุณเจ้า ซินแสถวายคำทำนายแล้ว ได้อำลาจากไป ปล่อยให้ พระภิกษุสิน และ พระภิกษุทองด้วง มองตากันด้วยความรู้สึกขบขัน แล้วเดินบิณฑบาตต่อไป โดยไม่ได้ซักอะไรอีก

    ตอบลบ
  5. ปัจจุบันวัดเชิงท่าอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา และยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาตลอดมา สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้กำหนดให้วัดเชิงท่า เป็นแหล่งโบราณสถานของชาติ นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีงานศิลปกรรมไทยสมัยอยุธยาตอนปลายในรูปแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมหลายอย่าง สมควรที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการศึกษาอารยธรรมโบราณ จึงได้กำหนดเป็นโบราณสถานที่สำคัญ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการขุดแต่งเพื่อออกแบบบูรณะวัดเชิงท่า เนื่องจากโบราณสถานมีสภาพทรุดโทรม อาคารหลายหลังถูกขุดเจาะทำลายเพื่อหาโบราณวัตถุรวมทั้งการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา


    ขอเชิญร่วมบุญกฐินสามัคคี ณ วัดเชิงท่า ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553
    สอบถามเส้นทางโทร 035-328-030 -1





    ที่นี่ พระประธานหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ยังคลองเมืองหรือแม่น้ำลพบุรีเดิม



    หอระฆังอยู่ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ อุโบสถหลังเก่าขนาบด้านตะวันตก เห็นความเก่าแก่
    จากรอยปูน



    ตอบลบ