วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

16.07.2560 Wat Hatsadawat, Ayutthaya, Thailand. วัดหัสดาวาส หรือ วัดช้าง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Wat Hatsadawat, Ayutthaya, Thailand.


วัดหัสดาวาส หรือ วัดช้าง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 

Wat Hatsadawat, Ayutthaya, Thailand.
Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก http://www.orientalarchitecture.com/sid/993/thailand/ayutthaya/wat-hatsadawat


Wat Hatsadawat (วัดหัสดาวาส) (age unknown)

Wat Hatsadawat is located north of Ayutthaya city island and immediately to the east of Wat Na Phra Men. Modest in size, the layout of the temple plan comprises three major elements: the primary chedi on the west side, a sermon hall in the middle, and an auxilliary chedi on the east side. The east chedi is in excellent condition whereas the sermon hall is completely destroyed apart from its foundations. The primary chedi is half ruined but its profile is still recognizable. Around all three buildings is an enclosure surrounded by a narrow moat, a feature also found at Wat Sika Samud to the east of the city.
The temple's name derives from a word for "elephant", and indeed, traces of elephant sculptures were found during excavations of the primary chedi. It was common practice for early Ayutthayan-era temples to feature elephant statues around the primary chedi in the manner still evident at Wat Maheyong.
The temple appears in the historical record as the site of an armistice between the Thai and Burmese armies in 1549. In that year, King Maha Chakkraphat (r. 1548-1569) suffered a serious setback when two princes--Ramesuan and Maha Thammaraccha--were captured by the Burmese during a battle near Kamphaeng Phet. Recognizing that he no longer had sufficient strength to defend Ayutthaya, the King sent a flag of truce to the Burmese and offered four white elephants as a gift. The Burmese consented to the negotiations, and King Maha Chakkraphat ordered his officials to erect two equal-sized thrones in the field between Wat Hatsadawas and Wat Na Phra Men. Although the Burmese delegation arrived as scheduled, they forced the king to agree to terms that Prince Ramesuan would remain a prisoner of the Burmese. The Burmese permitted the prince and several other prisoners to collect their wives and children then carried them off to Pegu (Pagan) in Burma with the retreating army.
As with the majority of temples in the area, it was almost certainly abandoned following the Burmese sack of Ayutthaya in 1767.

Location

The approximate location of the site is 14.362884' N, 100.557533' E (WGS 84 map datum).

01.Wat Hatsadawat, Ayutthaya, Thailand. Photo Gallery. Asian Historical Architecture.
วัดหัสดาวาส หรือ วัดช้าง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 















.....................................

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก https://www.museumsiam.org/da-detail.php?MID=3&CID=16&CONID=1319



วัดหัสดาวาส หรือ วัดช้าง.
วัดหัสดาวาสหรือวัดช้างสันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ.๒๐๙๒ ตามพงศาวดารฉบับจันทนุมาศ(เจิม)ได้กล่าวถึงวัดนี้ไว้ตอนหนึ่งว่าก่อนที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์จะทรงทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๒ ได้โปรดเกล้าฯให้พนักงานไปปลูกราชสัณฐาคาร(พลับพลา)ณ ตำบลวัดเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาสมีราชบัลลังก์กากาสน์สองพระที่นั่งสูงเสมอกันระหว่างพระที่นั่งห่างกันสี่ศอกแล้วให้แต่งรัตยาอาสน์สูงกว่าราชอาสน์อีกองค์หนึ่งให้เชิญพระศรีรัตนตรัยออกไปไว้เป็นประธาน

ที่มา : http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/ayuthaya4.htm


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ ข้อมูล จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดหัสดาวาส หรือวัดช้าง

    วัดหัสดาวาส
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    วัดหัสดาวาส หรือวัดช้าง เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา ถัดจากวัดหน้าพระเมรุไปทางทิศตะวันออก เดิมเคยมีทางเดินติดต่อถึงกัน

    วัดหัสดาวาสเป็นวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับวัดหน้าพระเมรุ ในฐานะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงใช้เป็นสถานที่เจรจาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๒ หลังจากนั้นมีเรื่องราวปรากฏในพงศาวดารอีกว่า ใน พ.ศ. ๒๓๐๓ ทัพพม่าที่เข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาได้ตั้งปืนใหญ่ยิงพระราชวังที่วัดพระเมรุราชิการาม และวัดท่าช้าง วัดท่าช้างที่กล่าวถึงนี้ คงจะได้แก่ วัดหัสดาวาสนั่นเอง เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณต่อเนื่องกับวัดหน้าพระเมรุ และยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดช้าง

    ไม่มีหลักฐานระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นแต่เมื่อใด หากยึดถือเหตุการณ์ตามพระราชพงศาวดาร ซึ่งกล่าวชื่อวัดนี้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็อาจกล่าวได้ว่า คงจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ก่อนรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หรือรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นอย่างช้า สภาพของวัดในปัจจุบันคงเหลือสิ่งก่อสร้างที่ยังคงสภาพอยู่น้อย ในจำนวนนั้นมีเจดีย์ ๑ องค์ ซึ่งอาจกำหนดอายุให้อยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้นยุคที่ ๒ นับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา นับว่าค่อนข้างจะสอดคล้องกันกับหลักฐานการกล่าวถึงในพระราชพงศาวดาร

    สิ่งก่อสร้างในวัดหัสดาวาสในปัจจุบันมีดังนี้

    ๑. เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ขนาดค่อนข้างใหญ่ทรงกลมหรือที่มักเรียกกันว่า ทรงลังกาตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดเจดีย์ทรงลังกาไว้ในกลุ่มของเจดีย์ที่ นิยมสร้างกันในสมัยอยุธยายุคที่ ๒ คือ ช่วงเวลานับแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครอง

    ราชย์ที่พิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖ ลงมาจนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อย่างไรก็ดีเจดีย์ทรงลังหาหรือทรงกลมก็มีที่สร้างกันในสมัยอยุธยายุคที่ ๑ ด้วย ฐานเจดีย์องค์นี้เป็นฐานประทักษิณ ซึ่งหมายถึงฐานที่มีพื้นที่เป็นลานให้เดินเวียนประทักษิณ คือเดินเวียนขวานมัสการพระเจดีย์ ๑ แต่สำหรับเจดีย์องค์นี้คงไม่ได้ตั้งใจสร้างให้เป็นที่เดินเวียนประทักษิณรอบเจดีย์ตามความหมายที่แท้จริง เพราะมีเนื้อที่แคบฐานประทักษิณนี้เดิมมีลูกกรงรอบ ๒ แต่ปัจจุบันหักพังไปหมดแล้ว

    ๒. เจดีย์แปดเหลี่ยม ถัดจากเจดีย์ประธานไปทางทิศตะวันตก มีเจดีย์อีก ๑ องค์ สภาพชำรุดยอดหักเป็นโพรงเหลือแต่แกนอิฐ แต่ยังพอมองเห็นลักษณะได้คร่าวๆ ว่าเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ ได้กล่าวถึงลักษณะของเจดีย์องค์ไว้ในหนังสือชื่อ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” พอสรุปได้ว่าเป็นเจดีย์ทรงสูง องค์เจดีย์แปดเหลี่ยม บัลลังก์แปดเหลี่ยม มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดับล้อมรอบบัลลังก์ประทับในซุ้มเรือนแก้ว จำนวนทั้งหมด ๑๖ องค์

    ๓. เนินวิหาร ระหว่างเจดีย์ทั้งสององค์นี้ มีเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเนินดินฐานวิหารซึ่งพังทลายหมดสภาพไปแล้ว วัดหัสดาวาสคงจะร้างมาตั้งแต่คราวเสียกรุง และสภาพคงจะเสียหายมากจนยากที่จะทำการบูรณปฏิสังขรณ์ เพราะมิฉะนั้นเมื่อพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในรัชกาลที่ ๓ มาทำการปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุซึ่งตั้งอยู่ติดกัน ก็น่าจะได้สงเคราะห์ทำการปฏิสังขรณ์วัดนี้เสียด้วยแล้ว แต่กระนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรทำการสำรวจทำผังวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ วัดนี้ก็ยังมีซากปรักหักพังของเจดีย์ขนาดเล็ก นอกเหนือเจดีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่อีก ๔ องค์ (รวมเป็นเจดีย์ ๖ องค์) และซากมณฑปอีก ๒ องค์

    ตอบลบ